LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

พัฒนาทักษะการอ่าน การคิด การเขียนของนักเรียนรร.บ้านหนองศรีจันทร์

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์
ตามศักยภาพ 4 ลักษณะโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา
2560 - 2561
ชื่อผู้วิจัย : นายพัทธพงศ์ แก้วละเอียด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์
ปีการศึกษา : 2560 – 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 - 2561 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 - 2561 2) เพื่อศึกษาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะโรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2560 - 2561 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560 - 2561 4) เพื่อศึกษาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2560 - 2561 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560 - 2561
     โดยประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเพื่อพัฒนา 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการจำเป็น มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกรอบกิจกรรมในการพัฒนา ระยะที่ 2 การดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ ระยะที่ 3 การประเมินผลการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์ผลการประเมิน ขั้นตอนที่ 7 การสรุปรายงานผลการเผยแพร่ผลงาน ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 - 2 ปีการศึกษา 2560 - 2561 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชากรครู ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 117 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 108 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 112 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 104 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 3 ฉบับ ที่มีการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.80 - 0.99 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และแบบบันทึกผลการคัดกรองความสามารถด้านอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน จำแนกตามระดับคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Version 16 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการวิจัย
1.ระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 -2561 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.91, S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.79, S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.71, S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.60,  = 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 4.54 , S.D = 0.28) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.50, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2560 - 2561 ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.09,  = 0.19) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.94, S.D. = 0.41 ) มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.64, S.D. = 0.15 ) มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.59,  = 0.19) มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2560 – 2561 พบว่า
ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.73 หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.39 และหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.12 แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2560 - 2561 พบว่า
ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี – ดีเยี่ยม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 79.09 หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2560 โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี – ดีเยี่ยม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.70 และหลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี – ดีเยี่ยม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.14 แสดงให้เห็นว่าสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าก่อนการพัฒนาสอดคล้องกับสมมติฐาน
5. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์ จังหวัดตรัง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560 – 2561 พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.95, S.D. = 0.35 ) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย ( = 3.87, S.D. = 0.43 ) อยู่ในระดับมาก และกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.62,  = 0.53 ) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.63,  = 0.27 ) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54, S.D. = 0.24 ) อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.50, S.D. = 0.39 ) อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมติฐาน


ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะการนำผลการประเมินไปประยุกต์ใช้
1. โรงเรียนควรแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน โดยจำแนกตามกลุ่มคุณภาพที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียนตามผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนเป็นภารกิจที่
โรงเรียนและครูทุกคน รวมถึงผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข/พัฒนา ไม่ควรปล่อยให้เป็นภารกิจของครูผู้สอนวิชาภาษาไทยแต่เพียงกลุ่มเดียว
3. การจัดกิจกรรมการพัฒนาการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนจะประสบผลสำเร็จ
ผู้บริหารโรงเรียนต้องให้ความสำคัญในทุก ๆ ด้านและที่สำคัญต้องมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาทุกสังกัด
2. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนระดับ
ประถมศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมิติ O-NET, NT และ PISA
p.kaewlaaied 17 ก.ค. 2562 เวลา 09:38 น. 0 967
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^