LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

กุหลาบ สุทธิภูล

usericon

วิจัยเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา สังกัดองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้วิจัย    กุหลาบ สุทธิภูล
ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลปากพนัง ๑ เทศบาลเมืองปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์     2562
บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการนิเทศภายใน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายใน และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของ สถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 77 คน และครูผู้สอน 232 คน รวม 309 คน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม 15 คน 2) การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตร 1 คน ครูผู้สอน 30 คน และนักเรียน 260 โดยใช้แบบประเมินคุณภาพผู้เรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) การประเมินรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก
    2. รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า 2) ด้านกระบวนการ 3)ด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ 8 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และ ความต้องการนิเทศภายใน 2) กำหนดผู้เกี่ยวข้องและบทบาทการนิเทศภายใน 3) กำหนดแผนงาน และแนวทางการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง
4) การเตรียมการนิเทศ 5) ดำเนินการนิเทศ 6) การประเมินผลการนิเทศ 7) การปรับปรุงและพัฒนาการนิเทศภายใน และ 8) การนำผลการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในไปใช้
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
                 3.1 คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนก่อนใช้และหลังใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.45, S.D =.01) คิดเป็นร้อยละ 69.00 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D =.00) คิดเป็นร้อยละ 90.00 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในครูผู้สอนมีคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 21.00
     3.2 คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนก่อนและหลังจากครูผู้สอนโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนใช้โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง
( =3.49, S.D =.03) คิดเป็นร้อยละ 69.80 และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50, S.D =.01) คิดเป็นร้อยละ 90.00 สรุปผลการเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในผู้เรียนมีคุณภาพการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 20.20
3.3 ความพึงพอใจของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อพัฒนา
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก ( =4.30, S.D =.32)
3.4 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่ใช้รูปแบบการนิเทศ
ภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.38, S.D.=.34)
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
ของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.39, S.D.=.41)


kwan.pikkaju 15 ก.ค. 2562 เวลา 20:40 น. 0 751
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^