LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.กระบี่ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กระบี่ 24 เม.ย. 2567สพป.ราชบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 1 24 เม.ย. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.จันทบุรี เขต 1

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

usericon

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อสื่อสารในสังคมยุคสมัยนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ จึงมีบทบาทในการประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น เยาวภา สงวนวรรณ (2540) ได้กล่าวว่า จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และระบบสารสนเทศซึ่งทำให้การเรียนการสอนสามารถเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเน้นประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองได้ และ นิคม ทาแดง (2537) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบและกระบวนการของสังคมการเรียนรู้ว่ากระบวนการของการเรียนรู้ในยุคของสังคมการสื่อสารอย่างในปัจจุบันจะต้องเป็นระบบเปิดให้อิสรภาพ ความเสมอภาค และตอบสนองต่อความจำเป็น ความต้องการ ความถนัดและขีดความสามารถของผู้เรียน โดยผ่านทางสื่อทุกรูปแบบและมีอัตราการเรียนการสอนแบบไม่เผชิญหน้ามากกว่าการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าเพื่อสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวดที่ 9 ซึ่งเป็นหมวดโดยตรงที่ว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประกอบด้วยมาตรา 63 ถึง มาตรา 69 มีสาระสำคัญคือ ประการแรก รัฐต้องจัดโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่องทางและสื่อโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาประการที่สอง รัฐต้องจัดให้มีโครงสร้างและหน่วยงานเฉพาะ เพื่อรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประการที่สาม รัฐต้องส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาตลอดทั้งประชาชนให้มีขีดความสามารถในการผลิต และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคสังคมข่าวสารในการแสวงหาความรู้และการศึกษาตลอดชีวิต
จากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันที่ผู้คนจากชาติต่างๆสามารถติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงความสำคัญอย่างมากเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร และใช้ในแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆในการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของโลกที่ผู้คนจากชาติต่างๆใช้ในการติดต่อระหว่างกันเป็นหลักไม่ว่าคนในประเทศเหล่านั้นจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ โดยในปัจจุบัน มีจำนวนประเทศถึง 53 ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ ด้วยเหตุนี้ในหลายประเทศจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติเพื่อสามารถสร้างโอกาสให้คนในประเทศสามารถพัฒนาศักยภาพในตนเองในด้านต่างๆให้ทัดเทียมกับคนในชาติอื่นได้ Davis Graddol (2006 : 114) ได้กล่าวถึงแนวโน้มของภาษาอังกฤษว่า นับจากนี้ไปจำนวนผู้เรียนภาษาอังกฤษทั่วโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในอีก 10 – 15 ปีข้างหน้า (ประมาณปี 2015 - 2020) จำนวนผู้เรียนจะเพิ่มสูงสุดถึง 2 พันล้านคน ข้อมูลจากงานวิจัยนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนบนโลกนี้ต่างตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษในสังคมโลกยุคใหม่ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศต่างๆควรจะต้องให้ความสำคัญ
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในประเทศไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การเสวงหาความรู้การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก เพื่อเรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครองรวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตโดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในด้านความสามารถในการสื่อสารในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551ว่า ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถในการรับและส่งสารมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดความรู้ความเข้าใจความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆการเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้องตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นมีความสามารถเป็นที่ยอมรับจากสถาบันทางภาษาต่างๆ ( กระทรวงศึกษาธิการ 2551 : 1) จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงสามารถเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ทักษะการอ่านจัดเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นทักษะที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และเป็นพื้นฐานในการใช้ภาษา
ในการพูดและการเขียน เนื่องจากในปัจจุบันการค้นคว้าจากตำราต่างๆ หรือจากสื่อต่างๆ ผู้เรียนต้องศึกษาจากตำราทั้งในและต่างประเทศเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Paulston และBruder (1978)ได้กล่าวว่า การสอนภาษาอังกฤษมีเป้าหมายสำคัญเพื่อจะส่งเสริมให้เกิดทักษะทั้ง 4ด้าน คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน สำหรับทักษะการอ่าน ถือ เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษทั่วโลกมากกว่าทักษะอื่นๆ เนื่องจากผู้เรียนสามารถนำเอาทักษะการอ่านไปใช้ในการรับสาระ แล้วข้อมูลต่างๆไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ วิสาข์ จัติวัตร์ (2557) ที่ได้ระบุไว้ว่า ในบรรดาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในประเทศไทยนั้น เมื่อเปรียบเทียบความสำคัญของทักษะทางภาษา พบว่าการอ่านเป็นทักษะที่สำคัญกว่าทักษะอื่นๆ เพราะทักษะการอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาการเจรจาต่อรอง และเพื่อการแข่งขันทางการประกอบอาชีพ
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ(สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2553) พบว่าคนไทย อายุ 6 ปีขี้นไป อ่านหนังสือน้อยลงนั่น คือจากปีพ.ศ. 2548 มีการอ่านร้อยละ 69.1 แต่ในปีพ.ศ. 2551 กลับอ่านลดลงเหลือร้อยละ 66.3 ส่วนในด้านของเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ พบว่า ในปี พ.ศ. 2548 คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย 51 นาทีต่อวัน แต่ในปีพ.ศ. 2551 ลดลงเหลือเพียง 39 นาที ต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจการอ่าน พบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่ไม่อ่านหนังสือ 22.4 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่เด็กอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 60 ให้เหตุผล ว่าไม่ชอบอ่าน ไม่สนใจที่จะอ่าน และอ่านหนังสือไม่ออก ส่งผลให้จินตนาการของเด็กและคนไทย ทั่วไปลดลง รวมทั้งเกิดปัญหาต่อผลการเรียนของเด็กไทย และพบว่าทักษะการอ่านของนักเรียน ไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2 จากทั้งหมด 5 ระดับ ดังนี้ 1.อ่านแล้วรู้รู้ว่าใคร ทำ อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่อย่างไร 2.อ่านแล้วแล้วเข้าใจ เข้าใจว่า ผู้เขียน ต้องการสื่ออะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร 3.อ่านแล้ววิเคราะห์วิเคราะห์ได้ว่า อะไรเป็นข้อเท็จจริงอะไรเป็นข้อคิดเห็น 4.อ่านแล้วสังเคราะห์ หลังจากวิเคราะห์แล้ว รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการอ่านใหม่และสุดท้าย 5. อ่านแล้วประเมินค่า ประเมินค่าได้ว่าเรื่องนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร
แม้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจะมีความสำคัญและได้ถูกกำหนดให้เป็นวิชาหนึ่งในการ เรียนการสอน อย่างไรก็ตามการที่ผู้เรียนจะเรียนภาษาอังกฤษได้ผลดีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับแรงจูงใจ ความสนใจ และความพร้อมของผู้เรียนเป็นสำคัญ จากการประเมินคุณภาพการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 (บ้านเก่าวิทยา) ตามหลักสูตรสถานศึกษา ในรายวิชาภาษาอังกฤษ ประจำปี การศึกษา 2560 พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าที่นโยบายของโรงเรียนกำหนด นักเรียนที่มีระดับผลการเรียนตั้งแต่ 3 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ18.75 ซึ่ง ต่ำกว่าที่กำหนดในเป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดว่า นักเรียนจะต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปโดยเฉลี่ย ร้อยละ 60 ผู้วิจัยศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากผล การวิเคราะห์ข้อสอบปลายภาคเรียนของโรงเรียน พบว่า ทักษะที่เป็นปัญหา คือ ทักษะการอ่านซึ่งอยู่ใน ข้อสอบฉบับที่ 2 (Reading) นักเรียนส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่านและจับใจความสำคัญของเรื่อง ที่อ่านไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากรายงาน การประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ที่พบว่า นักเรียนทุกช่วงชั้นควรได้รับการแก้ไขและ พัฒนาทักษะการอ่าน อีกทั้งการจัดการ ทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 ที่ผ่านมา อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีการศึกษาก่อน 3.07 คะแนน (งานบริหารวิชาการโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 (บ้านเก่าวิทยา) , 2560) จากผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของนักเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อสรุปสาเหตุที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษไม่ประสบความสำเร็จมีหลายประการ ทั้งด้านตัวครูผู้สอน ด้านนักเรียน และด้านสื่ออุปกรณ์หรือแบบฝึกทักษะต่างๆ (อุษา มะหะหมดั , 2548) กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนโดยเฉพาะด้านทักษะการอ่านนั้นอาจจะเนื่องด้วยสาเหตุ หลายประการ ดังนี้ 1. วิธีการที่ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลาง 2. ครูใช้วิธีการสอนเดิมๆ เช่น อ่านตามครูทีละประโยค หรือทีละตอนแล้วแปล 3. นักเรียนไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ในข้อความนั้น ทำให้ไม่สามารถทำความเข้าใจกับบทอ่านได้ชัดเจน 4. นักเรียนขาดความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน 5. นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ ไม่กล้าแสดงออกเห็นว่ายากเกินไป 6. นักเรียนไม่เห็นความสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษ ถือว่าเรียนแล้วไม่มีโอกาสนำไปใช้ 7. แบบเรียนการอ่านภาษาอังกฤษไม่เอื้อต่อการอ่าน มุ่งเน้นแต่ไวยากรณ์เป็นหลักสอดคล้องกับ 1. ปัญหาจากตัวครูผู้สอนเอง 2. นักเรียนมาจากสังคมที่แตกต่างกัน และมีระดับความสามารถในการอ่านที่แตกต่างกันด้วย เมื่อมาเรียนอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน ระดับความสามารถในการอ่านและประสบการณ์ทางภาษาจึงย่อมแตกต่างกัน และ 3. โรงเรียนมีปัญหาทางด้านสื่อการเรียนรู้ในการสอนภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนยังคงใช้สื่อสิ่งพิมพ์มากกว่าสื่ออื่นในการสอน และสื่อการสอนที่มีความทันสมัยและ เหมาะสมกับนักเรียนยังขาดแคลนอยู่ และ จากการศึกษาสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย พบว่ายังไม่มีเนื้อหา เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น หนังสือเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนไทยนั้น มีเนื้อหายากเกินกว่าระดับความสามารถของนักเรียน ทั้งนี้จากระบุของ (Cunningsworth, 1984) เป็นผลสืบเนื่องมาจาก นักวิชาการยังคงแต่งหรือดัดแปลงเนื้อหาแบบเรียนที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยยึดความต้องการ ความสนใจ และความสามารถทางภาษาของนักเรียนในกลุ่มที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็น แกนกลาง จึงไม่สามารถสนองความต้องการของนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ในด้านพื้นฐานทางภาษาและวัฒนธรรมได้ ซึ่งสอดคล้องกับ สุกัญญา นิมานันท์ (2544) ที่กล่าวว่าการใช้สื่อการอ่านแบบเดิมที่ใช้การบรรยายจากผู้สอน หรือการอ่านเรื่องราวจากกระดาษไร้สีสันและ ปราศจากตัวการ์ตูนที่กระตุ้นความสนใจอาจทําให้ผู้เรียนขาดความสนใจหรือเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ซึ่งสอดคล้องกับการสํารวจของกรมวิชาการ (กรมวิชาการ2551) ที่ผลของการสํารวจพบว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในประเทศไทยยังมีความต้องการอีกเป็นจํานวนมากเนื่องจาก สื่อที่เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ มีราคาสูงและบางครั้งเป็นสื่อที่น่าสนใจ สนุกสนาน แต่ไม่ตรงตามระดับของวัยและความเข้าใจ ของผู้เรียน ปัญหาผู้เรียนขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ จากการเก็บข้อมูลคะแนนทักษะภาษาอังกฤษจากการสอบ TOEFL ของบัณฑิตจากประเทศอาเซียน พบว่า สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์เป็นสองชาติที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 550 มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม และกัมพูชาได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 500 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของบัณฑิตไทยได้ต่ำกว่า 500 คะแนน สอดคล้องกับผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ในปีการศึกษา 2556 ที่ดําเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) โดยจัดสอบ 8 กลุ่มสาระทุก สำนักหอสมุดกลาง 5 ช่วงชั้นคือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะและการงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า ในระดับชั้น ป.6 มีผู้เข้าสอบวิชาภาษาอังกฤษ 734,822 คนโดยในวิชาภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 33.82 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยจากข้อมูล ดังกล่าวเห็นได้ว่า ภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับที่ต่ำอยู่ แม้ว่าทุกวันนี้ เด็กไทยจะมีแนวทางและโอกาสในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายขึ้น ทั้งจากครูผู้สอนในห้องเรียน สื่อ เพลง ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต แต่นักเรียนในประเทศไทยปัจจุบันไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ทาง ภาษาอังกฤษแตกต่างไปจากสมัยก่อนมากนัก
จากปัญหาด้านต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงมีนักการศึกษาหลายท่านได้พยายามนํา วิธีการสอนเพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน และพัฒนาสื่อที่จะนําไปใช้ในการ สอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนให้ได้มากที่สุด Laghos และ Zaphiris (2009) การนําเอา คอมพิวเตอร์มาใช้กับการศึกษา เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในสังคมโลกปัจุบัน เป็นไปอย่างรวดเร็วคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน อย่างมาก ในปัจจุบันการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ในการสอนภาษาเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่าง มาก เนื่องจากในบทเรียนที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนี้สามารถบรรจุภาพกราฟฟิก วิดีโอภาพเคลื่อนไหว และเสียงเอาไว้ได้ และการใช้สื่ออินเตอร์เนตในปัจจุบันของผู้เรียนสามารถนําพาให้สื่อชนิดนี้ไปสู่ผู้เรียนได้ทุกมุมโลกโดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากที่ต่างๆ จีรพรรณ มหาพรหม และ สุวรรณาโปธา (2545)ได้กล่าวว่าการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นสามารถบรรลุเป้าหมายในการยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดีรวมไปถึงยังสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันระหว่าง บุคคลและเพิ่มช่องทางในวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ยังเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ของ นักเรียนและช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนมากยิ่งขึ้น Cotterall (1999) คอมพิวเตอร์ช่วย สอนภาษาในกิจกรรมการอ่านเป็นเครื่องมือที่สามารถเพิ่มความสนใจในการอ่าน และเมื่อนักเรียนมี ความสนใจก็จะส่งเสริมความเข้าใจต่อบทอ่านได้ Hanson – Smith (2002) ได้กล่าวถึงประโยชน์ ของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถช่วยในการประหยัดเวลาในการ เรียนการสอนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้น และสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนได้มากกว่าผู้เรียนจากสื่ออื่น
จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในกลุ่มเขตเศรษฐกิจชายแดนพิเศษ จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมกัน และจากการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การใช้ข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับข้อมูลท้องถิ่น จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะต่างๆ เนื่องจากข้อมูลท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีโอกาสพบเห็นในชีวิตประจำวัน อีกทั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 และสถานศึกษาได้ร่วมกันจัดทำกรอบสาระการ เรียนรู้ท้องถิ่นกาญจนบุรีตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ มีหน้าที่ในการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาสาระหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 (บ้านเก่าวิทยา)เป็นโรงเรียนที่ อยู่กลุ่มเขตเศรษฐกิจชายแดนพิเศษไทยและพม่า ในจังหวัดกาญจนบุรีเนื่องจากในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทางโรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมทางด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนทางด้านความรู้ และวัฒนธรรมกับ ประเทศเพื่อนบ้าน นักเรียนของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 (บ้านเก่าวิทยา)จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อนำเสนอแก่ผู้อื่นเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสาร ทางโรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงกำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2 และสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีไว้ในรายวิชาพื้นฐาน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการนำข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีมาพัฒนาเป็นการฝึกทักษะในกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนข้อมูลท้องถิ่นสู่รายวิชาพื้นฐานซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่สนับสนุนและให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลท้องถิ่น มาเป็นสาระในการเรียนรู้ใช้ในการสอนนัก เรียน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองและเกิดความหวงแหนและอนุรักษ์ ท้องถิ่นของตนเองอีกด้วย
จากความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ และได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ ท้องถิ่น ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลในท้องถิ่น รักและผูกพันท้องถิ่นของตนเองเป็นการเรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และสามารถใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้นด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่นักเรียนสนใจ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1. เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75 /75
    2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร    
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

สมมุติฐานในการวิจัย

    นักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ความสำคัญของการวิจัย

    1. ได้การจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิชาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้นักเรียนมีความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น
    2. เป็นแนวทางให้ครูผู้สอนในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เนื้อหาอื่นในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย

    ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 (บ้านเก่าวิทยา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 ห้องเรียน โดยห้องเรียนที่ 1 จำนวน 30 คน ห้องเรียนที่ 2 จำนวน 38 คน ห้องเรียนที่ 3 จำนวน 34 คน ห้องเรียนที่ 4 จำนวน 30 คน ห้องเรียนที่ 5 จำนวน 38 คน และห้องเรียนที่ 6 จำนวน 34 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้งหมดจำนวน 204 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องเรียนที่ 2 จำนวน 38 คน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 (บ้านเก่าวิทยา) ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม

    สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษา

    สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษา เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รายวิชาพื้นฐาน รหัสวิชา อ 22101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย

1. ตัวแปรอิสระ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. ตัวแปรตาม คือ ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา

เป็นการดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 – วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 10 ชั่วโมง และมีการ Pretest 1 ชั่วโมง ก่อนการเรียน และ Posttest อีก 1 ชั่วโมง หลังการเรียน รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง

กรอบแนวคิดในการวิจัย

จากการศึกษาแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จึงคาดว่าการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จะส่งผลต่อความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และความคิดเห็นของนักเรียน ดังแผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิด











แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

นิยามศัพท์เฉพาะ

     1. การจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี หมายถึง รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหาโดยมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนมากกว่า 1 สื่อ ซึ่งผู้วิจัยค้นคว้าสร้างขึ้น จากโปรแกรม Marcromedia Dream 8 และโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ โดยการเรียนการสอนนั้นจะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียวสามารถนำเสนอบทเรียนในรูปแบบของภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวเสียงประกอบและกราฟิกอื่นๆโดยการนำเสนอผ่านทางด้านหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งบทเรียนจะประกอบด้วยจุดประสงค์การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนแบบทดสอบท้ายบทเรียน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนใบงาน แบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ โดยนักเรียนและคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันมีการตอบสนองต่อนักเรียนภายใต้กฎเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้โดยสามารถแจ้งผลการเรียนให้นักเรียนรับทราบหลังจากทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยอัตโนมัตินักเรียนสามารถศึกษาบทเรียนและทบทวนบทเรียนได้หลายครั้งตามความต้องการโดยใช้เนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาrพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ที่3 เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 12 ชั่วโมง โดยใช้เวลาสอน 10 ชั่วโมง และใช้เวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 2 ชั่วโมง
2. ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษจากคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่กำหนดให้ นักเรียนสามารถปฏิบัติตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ และสามารถนำความรู้ทางภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ มีการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีเกณฑ์การประเมิน ดังต่อไปนี้
2. 1 การอ่านออกเสียง คือ นักเรียนมีความสามารถในการออกเสียงคำ กลุ่มคำและประโยคง่าย ๆ ได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน
2.2 การตีความหมาย คือ นักเรียนมีความเข้าใจความหมายของคำ ประโยค บทสนทนา และเรื่องราวที่อ่าน โดยถ่ายโอนเป็นภาพหรือสัญลักษณ์และถ่ายโอนข้อมูลจากสัญลักษณ์เป็นคำประโยค และข้อความสั้น ๆ แล้วสามารถแปลความหมาย
2.3 การสรุปใจความสำคัญ คือ นักเรียนสามารถตอบคำถาม ตีความ วิเคราะห์ สิ่งที่อ่านได้
2.4 การแสดงความคิดเห็น คือ นักเรียนมีการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ถูกต้องและตรงประเด็น
3. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง คุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เมื่อนำไปจัดการเรียนรู้แล้วทำให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเกณฑ์ 75/75 จำแนกได้ดังนี้
75 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพด้านกระบวนการและด้านพฤติกรรม คํานวณจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนของนักเรียนทุกคน ที่ได้จาก แบบประเมินกิจกรรมระหว่างเรียน ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 ขึ้นไป ประสิทธิภาพของกระบวนการเป็นร้อยละค่าเฉลี่ยของคะแนนนักเรียน มีค่าตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป
75 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้จากร้อยละค่าเฉลี่ยของคะแนนนักเรียนที่เก็บได้จากแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีค่าตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป
    4. แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หมายถึง แบบทดสอบที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
5. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่เกิดขึ้นในทางที่ดี เป็นความรู้สึกชอบ ความพอใจ ความประทับใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้จากแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนประกอบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ



Aod3719947 04 ก.ค. 2562 เวลา 22:32 น. 0 721
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^