LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 3 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.พะเยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พะเยา เขต 1 23 เม.ย. 2567สพป.สระแก้ว เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 2 23 เม.ย. 2567สพป.นครปฐม เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครปฐม เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.พะเยา เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พะเยา เขต 2 23 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 22 เม.ย. 2567สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์เรื่อง การบอกตำแหน่ง
         บนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษาค้นคว้า        นายสมัย นามชารี
สถานศึกษา     โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคมอำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
                สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
ปีการศึกษา        2560

บทคัดย่อ

    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคมอำเภอปทุมรัตต์จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ 1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 ชุด 2)แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t- testแบบDependent Samples
    ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้
        1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ77.13/77.94ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75ที่ตั้งไว้
        2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6007 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น0.6007 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.07
        3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    โดยสรุป จากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ทำให้ได้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์เรื่อง การบอกตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานตรงตามสภาพและความต้องการของนักเรียน นำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ นักเรียนได้รับความรู้และได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมจนเกิดความเข้าใจที่คงทน นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นต่อไป

samai101nam 11 พ.ค. 2562 เวลา 13:24 น. 0 509
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^