LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.กระบี่ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กระบี่

การศึกษาการสอนแบบทีม (Team Teaching)

usericon

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคเหนือ 2) ศึกษาการสอนแบบทีม (Team Teaching) ของครูสอนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยและชาวญี่ปุ่น โรงเรียนในภาคเหนือ จำนวน 10 โรงเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนแผนการเรียนภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนในภาคเหนือที่มีต่อการสอนแบบทีม (Team Teaching) ของครูสอนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยและชาวญี่ปุ่น งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการสำรวจ รวมทั้งสืบค้นข้อมูลและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูภาษาญี่ปุ่นชาวไทยและชาวญี่ปุ่นที่สอนร่วมกันแบบทีม (Team Teaching) นักเรียนแผนการเรียนภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนในภาคเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 โรงเรียน
ผลของการศึกษาพบว่าโดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีทัศนคติที่แตกต่างกันในเรื่องของความสนใจเกี่ยวกับญี่ปุ่น มีครูภาษาญี่ปุ่นชาวไทย 1-3 คน เป็นครูประจำการ และมีผู้ช่วยครูสอนภาษาญี่ปุ่นมาร่วมสอน ครูชาวไทยมีประสบการณ์สอนอยู่ในช่วง 6 - 10 ปี แต่ครูชาวญี่ปุ่นไม่มีประสบการณ์สอน ซึ่งครูชาวไทยทุกคนมีประสบการณ์สอนร่วมกับครูญี่ปุ่นมาก่อน ในชั่วโมงภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ครูชาวญี่ปุ่นได้สอนร่วมกับครูชาวไทย เพราะในการสอนบางครั้งต้องอาศัยการอธิบายเป็นภาษาแม่ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนมากยิ่งขึ้น ครูชาวไทยมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการตระเตรียมเนื้อหาหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น และได้ร่วมทำกับครูชาวญี่ปุ่นบ้าง ทั้งครูชาวไทยและครูชาวญี่ปุ่นตระหนักถึงความสำคัญของการสอนแบบทีม ที่มีการช่วยเหลือให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ แต่ทางด้านการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจน การมีเวลาปรึกษาหารือ การทำงานคนเดียวทำให้งานคืบหน้ามากกว่านั้น ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมหรือไม่มีความเหมาะสม ดังนั้น สรุปได้ว่าการสอนแบบทีมจะไม่ประสบผลสำเร็จหากขาดความร่วมมือ การปรึกษาหารือ การแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจนว่าใครรับผิดชอบเรื่องใดบ้าง อนี่ง หากมีจุดประสงค์ร่วมกันมีการพูดคุยกัน ก็จะทำให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนภาษาญี่ปุ่น มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก (x = 4.63) นักเรียนมีความพึงพอใจในเรื่องการแต่งกายของครูผู้สอนมากที่สุด การแสดงสีหน้าของครู และพอใจในบุคลิกภาพของครูผู้สอน การให้เกียรติ และความเสมอภาคกับนักเรียน
นักเรียนเห็นด้วยกับการสอนแบบทีมของครูภาษาญี่ปุ่นชาวไทยและชาวญี่ปุ่นโดยที่นักเรียนสามารถได้รับข้อมูลเกี่ยวกับญี่ปุ่นจากครูชาวญี่ปุ่นได้ทันที หากไม่เข้าใจทั้งหมด
ครูชาวไทยยังสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ นักเรียนรู้สึกว่าทั้งครูชาวไทยและชาวญี่ปุ่นดูเหมือนจะมีบทบาทเท่าเทียมกันและทำงานร่วมกันได้ดี นักเรียนเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างสนุกสนานมากกว่าที่เคย นอกจากนี้นักเรียนยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านดีของการสอนแบบทีม คือ ช่วยพัฒนาทักษะการพูดและการออกเสียงของนักเรียน ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนในชั้นเรียนให้มีความสมดุล เพราะครูแต่ละคนมีบุคลิกและลักษณะเฉพาะตัว นอกจากนี้ การฝึกเป็นกลุ่มครูสามารถดูแลควบคุมได้อย่างทั่วถึง สามารถให้คำแนะนำ แก้ไขในขณะทำกิจกรรมได้ทันที
การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น นักเรียนต้องการครูชาวไทยเป็นหลักในการสอนเรื่องการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสังเกตเห็นสำนวนและรูปประโยค และการสอนแบบฝึกพื้นฐาน ส่วนการสอนแบบฝึกประยุกต์ทั้ง 4 ทักษะ นักเรียนต้องการให้ครูชาวไทยและชาวญี่ปุ่นเป็นหลักในการสอน มีจำนวนไม่แตกต่างกันมาก
ทักษะพูด ทักษะอ่าน และการสอนวัฒนธรรม นักเรียนต้องการให้ครูญี่ปุ่นเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน ส่วนทักษะเขียน ทักษะฟังตัวอย่างกิจกรรมที่ใช้ดำเนินการสอน ส่วนชั่วโมงการสอนวัฒนธรรมญี่ปุ่น นักเรียนมีความสนใจในเรื่องการทำอาหารญี่ปุ่น เทศกาลญี่ปุ่น การละเล่นของญี่ปุ่น นอกจากนี้ แหล่งท่องเที่ยว การ์ตูน อนิเมะภาพยนตร์ กฎระเบียบ ธรรมเนียมประเพณี มารยาท ฤดูกาล เกม วันสำคัญ นักเรียนก็ให้ความสนใจ
ko-bu 09 เม.ย. 2562 เวลา 02:31 น. 0 727
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^