LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รายงานการประเมินโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลังในการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ผู้ประเมิน กันยารัตน์ ไวคำ ปีที่ประเมิน พ.ศ.2561

บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อม ก่อนดำเนินงานตามโครงการ 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ 3) ประเมินกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ 4) ประเมินผลผลิตในการดำเนินงาน ตามโครงการโดยใช้ CIPP MODEL เป็นรูปแบบในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการนิเทศติดตามและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอน และนักเรียนในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 แยกเป็นคณะกรรมการนิเทศฯ จำนวน 44 คน ครูผู้สอน จำนวน 152 คน และนักเรียน จำนวน 2,400 คน
เครื่องมือที่ใซ้ในการประเมินเป็นแบบประเมิน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 7 ฉบับ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-Dependent ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อมก่อนการดำเนินการตามโครงการ
1.1 ครูผู้สอนและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาวะแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2561 มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง สิ่งที่ควรปรับปรุงและพัฒนาขึ้น คือด้านเทคนิคการสอนของครูและด้านผลที่เกิดกับนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
1.2 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อสภาวะแวดล้อมของโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลังในการจัด การเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ทั้งหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการด้านความสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้านความสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร และด้านความเป็นไปได้ของโครงการและกิจกรรมในโครงการ ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น
ครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยเบื้องด้น และวิธีดำเนินงานตามโครงการนิเทศแบบ ร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ
คณะกรรมการนิเทศติดตามและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามโครงการนิเทศ แบบร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีความเห็นว่า กระบวนการในการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ ระหว่างดำเนินการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อสิ้นสุดโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4. ด้านผลผลิต
4.1 ผลผลิตของโครงการทำให้องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครูผู้สอนพัฒนาคุณภาพมากขึ้น นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ทีดีขึ้น มีเจตคติทีดีต่อการสอนของครู ครูผู้สอนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลัง อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ระหว่างก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ พบว่า หลังดำเนินโครงการ การพัฒนามีคุณภาพสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^