LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรเรียนรู้ 7 ชั้น (7E)

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์             เวลา 15 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบย่อยอาหาร                 เวลา 2 ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ เดือน พ.ศ.2560              ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
............................................................................................................................................................
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์
ตัวชี้วัด ม.2/1 อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งระบบประสาทของมนุษย์

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปประกอบด้วยสารอาหารโมเลกุลใหญ่หลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เป็นต้น ร่างกายดูดซึมไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ จะต้องผ่านกระบวนการทำให้สารอาหารมีโมเลกุลเล็กลงจนสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ โดยมีเอนไซม์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรียกว่าระบบย่อยอาหาร

3. จุดประสงค์การเรียนรู้    
3.1 ด้านความรู้ : นักเรียนสามารถ
3.1.1 อธิบายโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารในร่างกายมนุษย์ได้
3.2 ด้านทักษะกระบวนการ : นักเรียนสามารถ
3.2.1 ทดลองและสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนขนาดอนุภาคของแป้งและน้ำตาลได้
3.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ : นักเรียน
3.3.1 มีวินัย
3.3.2 ใฝ่เรียนรู้
3.3.3 มุ่งมั่นในการทำงาน

4. สาระการเรียนรู้
    ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่ ทางเดินอาหารตั้งแต่ปากตลอดไปจนถึงทวารหนัก ที่อาหารจะต้องผ่านเข้าไปเพื่อเกิดการย่อยอาหารการดูดซึมอาหารและบางส่วนจะถูกกำจัดออกไป ประกอบด้วย ปาก (Mouth) , คอหอย (Pharynx) , หลอดอาหาร (Esophagus) , กระเพาะอาหาร (Stomach) , ลำไส้เล็ก (Small intestine) , ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) , ทวารหนัก (Anus)

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 7E)
5.1 ขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation Phase)
5.1.1 ครูสนทนา ซักถามนักเรียน
- สารอาหารที่ให้พลังงานพวกคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ อวัยวะและกลไกต่างๆ ของร่างกายจะต้องทำงานอย่างไรเพื่อให้ร่างกายนำพลังงานออกมาใช้ได้        
- การย่อยหมายถึงอะไร    
5.1.2 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายทบทวนเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและอวัยวะต่างๆในทางเดินอาหาร
5.1.3 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ จำนวน 10 ข้อ โดยใช้เวลา 10 นาที
5.2 ขั้นที่ 2 ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement Phase)
     5.2.1 นักเรียนดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของมนุษย์
     5.2.2 ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้
         - ระบบย่อยอาหารมีความสำคัญอย่างไรต่อการดำรงชีวิต
         (ระบบย่อยอาหารเป็นระบบที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงจนสามารถดูดซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้)
5.2.3 ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันโดยใช้คำถาม ดังต่อไปนี้
         - อาหารที่เรารับประทานมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
(นักเรียนสามารถตอบได้หลากหลาย)
         - อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเริ่มมีขนาดเล็กลงที่อวัยวะใด แล้วส่งต่อเข้าสู่
ร่างกายได้อย่างไร (ปาก ส่งต่อโดยการกลืนผ่านหลอดอาหาร)
5.2.4 นักเรียนดูภาพโครงสร้างของอวัยวะในระบบย่อยอาหาร โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกัน อภิปราย ดังนี้
         - อาหารที่กินเข้าไปจะผ่านไปตามอวัยวะใดบ้าง
(ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ )
         - อาหารที่ส่งต่อไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
(จากขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นขนาดเล็ก)
5.3 ขั้นที่ 3 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration Phase)
5.3.1 ครูให้นักเรียนวาดภาพทางเดินอาหารของคน คนละ 1 ภาพ พร้อมทั้งอธิบายอวัยวะต่างๆ
5.3.2 ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยคละเพศและความสามารถของนักเรียนคือ เก่ง ค่อนข้างเก่ง ปานกลาง ค่อนข้างอ่อนและอ่อน ร่วมกันศึกษา ความรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์จากใบความรู้ แล้วให้นักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ในรูปแผนภาพ โดยอธิบายถึงลำดับของอวัยวะต่าง ๆ ในทางเดินอาหารและการย่อยอาหารขออวัยวะนั้น ๆ (ชนิดของสารอาหารที่ย่อย เอนไซม์ที่ใช้ และสารอาหารที่ได้)
5.3.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมการทดลอง เรื่อง ขนาดโมเลกุลของแป้งและน้ำตาลขณะที่นักเรียนทำกิจกรรม ครูเดินดูแลความเรียบร้อยและคอยให้คำแนะนำในการปฏิบัติกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม สังเกตพฤติกรรมการทํางานและตอบคําถามที่นักเรียนสงสัย ไม่เข้าใจในลักษณะชี้แนวทาง
5.4 ขั้นที่ 4 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation Phase)
5.4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอแผนภาพระบบย่อยอาหาร โดยครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เสนอแนะเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง ตามคำถามประกอบการอภิปรายดังนี้
     - อวัยวะใดมีการย่อยเชิงกล และอวัยวะใดมีการย่อยเชิงเคมี
     - เพอริสตัลซิสหมายถึงอะไร
     - คาร์โบไฮเดรตถูกย่อยที่ใด ด้วยเอนไซม์ใดและเกิดสารโมเลกุลเล็กใดบ้าง
     - โปรตีนถูกย่อยที่ใด ด้วยเอนไซม์ใดและเกิดสารโมเลกุลเล็กใดบ้าง
     - ไขมันถูกย่อยที่ใด ด้วยเอนไซม์ใดและเกิดสารโมเลกุลเล็กใดบ้าง
     - เหตุใดกระเพาะอาหารจึงมีการสร้างกรดเกลือ
     - น้ำดีมีหน้าที่อะไร จัดเป็นเอนไซม์หรือไม่อย่างไร
     - เมื่ออวัยวะต่างๆ ย่อยสารอาหารจากโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารอาหารโมเลกุลเล็กร่างกายจะสามารถดูดซึมได้อย่างไร
     - ระบบย่อยอาหารมีความสำคัญอย่างไร
5.4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้ในรูปของผังมโนทัศน์
5.4.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการทำกิจกรรมการทดลอง เรื่อง ขนาดโมเลกุลของแป้งและน้ำตาล
5.4.4 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองตามคำถามท้ายกิจกรรมการทดลองเพื่อให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง
5.4.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปความรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์
5.5 ขั้นที่ 5 ขั้นขยายความคิด (Elaboration Phase)    
        ครูให้นักเรียนกลุ่มเดิมที่ทำกิจกรรมการทดลอง ตัดกระดาษสีทั้งหมด 3 สี เป็นรูปวงกลมขนาดต่างกัน 3 ขนาด (ใหญ่ กลาง เล็ก) ดังนี้
         - กระดาษสีแดง แทนอาหารจำพวกโปรตีน
         - กระดาษสีเหลือง แทนอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
         - กระดาษสีชมพู แทนอาหารจำพวกไขมัน
         จากนั้นให้แต่ละกลุ่มทำใบงาน เรื่อง การย่อยอาหารโดยวาดภาพโครงสร้างร่างกายของมนุษย์และอวัยวะในระบบย่อยอาหารลงในกระดาษเอ 4 แล้วนำกระดาษสีที่เตรียมไว้ติดลงในภาพอวัยวะที่มีการย่อยอาหารแต่ละชนิด โดยติดตามขนาดโมเลกุลของอาหาร
5.6 ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase)
5.6.1 นักเรียนทำใบงาน เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์
     5.6.2 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์
จำนวน 10 ข้อ โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน ถ้านักเรียนคนใดได้คะแนนต่ำและไม่ผ่านเกณฑ์ ครูควรชี้แจงและนัดซ่อมเสริมในโอกาสต่อไป
5.7 ขั้นที่ 7 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase)
         นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างแบบจำลองทางเดินอาหารของมนุษย์แล้วนำมาจัดป้ายนิเทศในห้องเรียน

6. สื่อและแหล่งเรียนรู้
6.1 สื่อ
6.1.1 ใบความรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
6.1.2 ใบงาน เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
     6.1.3 อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เรื่อง ขนาดโมเลกุลของแป้งและน้ำตาล
     6.1.4 แบบทดสอบก่อน – หลังเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
6.2 แหล่งเรียนรู้
6.2.1 ห้องสมุดโรงเรียน
6.2.2 ข้อมูลเว็ปไซต์จากอินเทอร์เน็ต เช่น
     - http://www.school.obec.go.th/schoolvit/chapter/unit1/pic/foodsys.jpg
     - http://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=1486364

7. การวัดผลประเมินผล

สิ่งที่วัด     วิธีการวัด     เครื่องมือวัด     เกณฑ์การประเมิน
1. ด้านความรู้     1. ตรวจใบงาน 1. ใบงาน 1. ผ่านเกณฑ์ 80%
2. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน 2. แบบทดสอบหลังเรียน 2. ผ่านเกณฑ์ 80%
2. ด้านทักษะกระบวนการ 1. ประเมินทักษะการทดลอง 1. แบบประเมินทักษะการทดลอง 1. ผ่านเกณฑ์ 80%
2. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม    2. แบบประเมินการทำงานกลุ่ม 2. มีระดับคุณภาพ
ระดับดีขึ้นไป
3. ด้านคุณลักษณะ ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์ 80%
อันพึงประสงค์            

8. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ลงชื่อ
(นางพัทธนันท์ ไตรนพ)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

9. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ลงชื่อ
(นายศุภชัย บุราณ)
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

10. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้อำนวยการสถานศึกษา
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ลงชื่อ
(นายสุวิชา ดิเรกโภค)
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม


บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ปัญหา/อุปสรรค
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................

ลงชื่อ
                         (นางสาวกัญญาณัฐ หอมระหัด)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
วันที่………เดือน……………พ.ศ…………
kt_30 16 มี.ค. 2562 เวลา 16:57 น. 0 997
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^