LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล CMAW

usericon

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขาเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ผู้วิจัย : นางทองย้อย ช่างเกวีย ครู อันดับ ค.ศ.3 วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ 6
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ    1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและและพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อใช้แผนพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจ ต่อการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการโดยใช้โมเดล CMAW รูปแบบการเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ T-test

ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขาดทักษะในการสร้างสื่อและนวัตกรรม และขาดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมการสอน แนวทางการแก้ปัญหา ครูจะต้องเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจที่เหมาะสมกับนักเรียน เช่น การอ่านเพื่อความเข้าใจจากบทความ นิทานเรื่องสั้น บทเพลง และวรรณคดีในบทเรียน

2. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทั้งหมด 5 แผนจัดการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 5 เรื่อง มีประสิทธิภาพแผนจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 84.20/81.92 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 75/75 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์
หลังเรียนของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน ของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา โดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล CMAW การเรียนรู้เชิงลึกบนหลักการของไตรสิกขา อยู่ในระดับมาก ( X ̅ = 4.43, S.D. = 0.69)
buddhabest 16 มี.ค. 2562 เวลา 09:00 น. 0 474
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^