LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.หนองคาย เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยภูมิ เขต 3 24 เม.ย. 2567สพฐ. ออกมาตรการสกัดปัญหาจัดอาหารกลางวันเด็กปี 67 24 เม.ย. 2567สพม.ราชบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียน
            เป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) เทศบาลเมือง
            นราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ผู้วิจัย         วรนุช แซ่เดี่ยว ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
            โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ปีที่ศึกษา         ๒๕๖๐
บทคัดย่อ

    ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านบาเละฮิเล) โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา จำนวน 47 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารเทศบาลเมือง นราธิวาส ครูปฏิบัติการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 12 คน และนักวิชาการศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการ
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความต้องการและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) จากการวิจัยสรุปผลการวิจัยได้ต่อไปนี้
    1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันความต้องการและแนวทางของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง (π =2.92) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (π =4.54) โดยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา ความต้องการและแนวทางในการจัดการเรียนรู้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 - 2561) การเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แนวทางที่ควรจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนต้องเป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและจะต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด โดยโรงเรียนจะจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และควรกำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรหรือแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
    จากการสังเคราะห์องค์ประกอบหลักเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการศึกษาในขั้นที่ 1-3 มาสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ดังนี้
        องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา
        องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
        องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และ
        องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากแหล่งเรียนรู้
    2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 8 แนวทาง 48 รายการ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยรายวิชาเพิ่มเติมมี 6 รายการแนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยกิจกรรมชุมนุมกลุ่มสนใจมี 13 รายการองค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมี 2 รายการ
แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษามี 2 รายการองค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมการอบรมระยะสั้นมี 7 รายการ แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมค่ายวิชาการมี 4 รายการแนวทางที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมเสริมหลักสูตรมี 5 รายการองค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากแหล่งเรียนรู้ แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมี 5 รายการแนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนมี 4 รายการ การสร้างคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้ 1 หลักการและเหตุผล 2 วัตถุประสงค์ 3 ข้อจำกัดในการนำคู่มือไปใช้ 4 วิธีดำเนินการตามรูปแบบ 5 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ 6 บรรณานุกรม 7 ภาคผนวก ผลการประเมินคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮีเลสรุปได้ดังนี้ 1 คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮีเลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับหลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิตและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542
2 โครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลมีความเหมาะสมชัดเจนแต่ควรลดกิจกรรมในแต่ละรูปแบบและเขียนคำอธิบายการดำเนินการให้ชัดเจน 3 โครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนได้เนื่องจาก เป็นรูปแบบที่ได้เรียนรู้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง เรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเองมีกิจกรรมหรือการเรียนรู้ ให้นักเรียนเลือกเรียนหลากหลายและมีประโยชน์กับครูเนื่องจากครูได้มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงานขึ้นอยู่กับบริบทและการบริหารของโรงเรียน 4 องค์ประกอบและกิจกรรมในรูปแบบนั้นมีเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมไม่ควรมีมากกว่านี้เพราะจะทำให้เป็นภาระในการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
3 ผลการทดลองใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลมีดังนี้ 3.1 ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูปฏิบัติการ 2 ระดับ ชั้นมัธยม ศึกษา ปีที่ 1-3 ของโรงเรียน เทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ/ เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด (π =4.53) 3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านบาเละฮิเล)พบว่าความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลโดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด(π=4.55)
4 ผลการนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านบาเละฮิเล)ผู้วิจัยได้ดำเนินการประชาพิจารณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและศึกษาความคิดเห็นผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลพบว่าโดยภาพรวมเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการจัดบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด (π=4.70)

wwrnuch.2562 02 มี.ค. 2562 เวลา 18:45 น. 0 634
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^