LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมActive Learning สู่ชั้นเรียน

usericon

    การประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมActive Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active Learning ในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) 2) เพื่อศึกษาผลดำเนินการจัดกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียน 3) ประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมActive Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมActive Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPModelในการประเมินโครงการกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้การเปิดตารางของเครซี่และมอรก์แกน(Krejcie&Morganm, 1970) ดังนี้ครู จำนวน28 คนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 10 คนผู้ปกครอง จำนวน 392คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-6จำนวน 392คนรวมทั้งสิ้นจำนวน822 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเองมี3ประเภท ได้แก่1)แบบสอบถาม แบบประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับมีทั้งหมด4ชุดเป็นแบบสอบถามผลสัมฤทธิ์ของโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสัมภาษณ์มีทั้งหมด5ฉบับ และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจของโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย(x-bar)และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินพบว่า
    1. แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Active Learning ในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ได้แก่ 1) การเตรียมการก่อนการจัดการเรียนรู้2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การประเมินผลการเรียนรู้
    2. ผลการดำเนินการจัดกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ของ ครูและนักเรียนได้ประโยชน์จาการจัดการดำเนินการจัดกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียน
    3. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมActive Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.37, S.D. = 0.57) ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.06, S.D. = 0.67)ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.08, S.D. = 0.67)ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)ของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.19, S.D. = 0.69)
    4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนกิจกรรมActive Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) พบว่า ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องของโครงการขับเคลื่อนกิจกรรม Active Learning สู่ชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.31, S.D. = 0.76)
saowapap03 01 มี.ค. 2562 เวลา 10:39 น. 0 560
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^