LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของฯ

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานาง
ชื่อผู้วิจัย    รอบ สุคำหล้า
ปีที่ทำ    ปี พ.ศ. 2557-2558

บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานางจำแนกประเด็นการประเมินตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยใช้รูปแบบซิปป์ โมเดล (CIPP MODEL) ประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการ แบ่งออก 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านบริบท (Context Evaluation) 2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) และ 5. ด้านผลกระทบของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 93 คน ประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสำรวจรายการ เครื่องมือ ผ่านการหาค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้เทคนิค IOC และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) การเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนดำเนินโครงการ ขณะดำเนินโครงการและหลังสิ้นสุดโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม 2557 - มีนาคม 2558
ผลการประเมินพบว่า
    ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานาง แบ่งเป็น 5 ด้าน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่า ความต้องการและความจำเป็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งตรงกับความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ดังนั้น จึงตัดสินใจจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานาง โดยกำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้มีความหลากหลาย ตามความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงได้จัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้ พัฒนาห้องสมุด พัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน ได้แก่ มุมหนังสือ มุมสื่อและป้ายนิเทศ พัฒนาสื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมและพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ ผลการประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งพบว่า สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 โครงการสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับสภาพปัญหา ของโรงเรียนความต้องการของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า มีความเพียงพอด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ การดำเนินงานตามโครงการโดยรวมรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีความเพียงพออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า กระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ การพัฒนาห้องสมุด การพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในห้องเรียน ได้แก่ มุมหนังสือ มุมสื่อ และป้ายนิเทศ การพัฒนาสื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมและการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และผลการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน ผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานาง ดังนี้ ผลการสำรวจจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนา พบว่า แหล่งเรียนรู้ได้รับการพัฒนาร้อยละ 100 หรือได้รับการพัฒนาทุกรายการ ด้านผลการประเมินประสิทธิผลการดำเนินตามโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ด้านผลการประเมินระดับความพึงพอใจการดำเนินตามโครงการ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
5. ด้านผลกระทบของโครงการ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2557 มีความก้าวหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสินคุณค่า ด้านผลการสำรวจรางวัลที่นักเรียนได้รับจากโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหล่ายขานาง จากการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการและศิลปหัตถกรรมนักเรียนปี 2557 ในระดับกลุ่มโรงเรียน ที่ 8 จตุบูรพา และระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ด้านรางวัลที่ครูได้รับ พบว่า ครูได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ ตามโครงการ “เด็กเด่น เพราะครูดี” หนึ่งแสนครูดี และครูผู้ฝึกสอนนักเรียนในกิจกรรม ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ด้านรางวัลที่โรงเรียนได้รับ พบว่า โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ คะแนน O-NET รวมแปดกลุ่มสาระ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สูงกว่าระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2557 รางวัลบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และรางวัลสถานศึกษาดีเด่น ด้านวัฒนธรรม
sukhamla 04 ต.ค. 2558 เวลา 10:16 น. 0 1,023
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^