LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์

usericon

ชื่อผลงาน        การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของ            เดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้น                มัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย        นางพรรษมน ธรรมรักขิต
ชื่อหน่วยงาน    โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ปีการศึกษา        2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนนาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำเพลงรากไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมชุมนุม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขั้นตอนในการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิจัย (Research) คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (Development) คือ การพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 วิจัย (Research) คือ การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (Development) คือ การประเมินผลรูปแบบ โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) ที่เลือกเรียนชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบผลการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์โขนเบื้องต้น และแบบประเมินทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที (t-test dependent)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1.     ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ทำการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานxxxล) รวมทั้งศึกษาความต้องการของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงทำให้ผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการให้ความรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของโขน องค์ประกอบในการแสดงโขน หลักและวิธีฝึกหัดโขน โดยมุ่นเน้นฝึกทักษะปฏิบัติ
    2.    ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้พัฒนาขึ้นจากการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Urge : U) ขั้นที่ 2 ขั้นประสบการณ์ (Experience : E) ขั้นที่ 3 ขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Present : P) ขั้นที่ 4 ขั้นอภิปรายผล (Debate : D) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Conclude : C) และขั้นที่ 6 ขั้นประยุกต์ใช้ (Apply : A)
    3.    ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า เมื่อนำรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน ไปใช้ทดลองกับนักเรียน จำนวน 35 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ผลปรากฏว่า นักเรียนให้ความสนใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้นได้
    4.    ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้น ชุมนุมเด็กไทยหัวใจโขน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งประเมินผลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ ผลการประเมินพบว่า ผลการเรียนรู้นาฏศิลป์โขนเบื้องต้นของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อีกทั้งนักเรียนมีทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์โขนเบื้องต้นอยู่ในระดับดี และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตามทฤษฎีทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์โขนเบื้องต้นฯ อยู่ในระดับมาก

tpassamon 17 ม.ค. 2562 เวลา 08:16 น. 0 891
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^