LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก
        โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน    นายพงศกร ไพทูรย์
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2560

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียน บ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560
มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษาความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 3) เพื่อประเมินกระบวนการการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนการดำเนินการ และการนิเทศติดตามและประเมินผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 4) เพื่อประเมินผลผลิตของการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 115 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 55 คน เพราะสามารถให้ข้อมูลได้ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ครู จำนวน 6 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 53 คน (จำนวนผู้ปกครองน้อยกว่านักเรียน เพราะว่าปกครองหนึ่งคนเป็นผู้ปกครองนักเรียนมากกว่าหนึ่งคน) ได้มาเช่นเดียวกับจำนวนนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.80 – 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการประเมินบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน และครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.71, σ = 0.46) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการส่งต่อ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.83, = .39) ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.78, = .44) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.63, = .49) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.74, σ = 0.44) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านผู้ปกครองมีความพร้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.80, = .41) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านผู้บริหารเป็นผู้นำในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.73, = .45) ผ่านเกณฑ์การประเมินและด้านโรงเรียนมีสื่อ เครื่องมือ และนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับด้านครูมีเจตคติที่ดีและมีความสามารถในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.67, = .48) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อยปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (µ = 4.50, = .50) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการผดุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.53, = .51) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านกระบวนการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.51, = .50) ผ่านเกณฑ์การประเมินและด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ= 4.49, = .50) อยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    4.      ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อยปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (µ = 4.51, = .53) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.55, = .52) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ความพึงพอใจของครู อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.50, = .51) ผ่านเกณฑ์การประเมินและความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ= 4.48, = .53) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผู้บริหารควรให้ความสําคัญและเป็นผู้นําในการดําเนินโครงการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนรวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบกระบวนการดําเนินโครงการในแต่ละ กิจกรรม รวมทั้งจัดให้มีการอบรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ความรู้และเป็นการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
1.2 โรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยการ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะดังกล่าวในโรงเรียน
1.3 โรงเรียนควรจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้า เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเรียนแก่นักเรียน
1.4 ฝ่ายปกครองควรจัดกิจกรรมที่เน้นฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัยมากขึ้น ควร ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด เพื่อฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัยมากขึ้น
1.5 ฝ่ายแนะแนวควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพจิตดี โดยการจัด กิจกรรมแนะแนวให้คําปรึกษา และนันทนาการ
1.6 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สามารถนํา ผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด ต่อไป
    
2 ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างดําเนินการโครงการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน อย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ส่งผลต่อความสําเร็จของ โครงการ
2.2 ควรประเมินผลผลิตของโครงการในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่แสดงถึงผลสําเร็จของโครงการ รวมทั้งควรศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนของอําเภอที่เหลือในสังกัด
2.3 ควรศึกษาแนวทางในการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
2.4 ควรทําการวิจัยการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่จัด การศึกษาให้กับนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสและนักเรียนเรียนรวม
2.5 ควรศึกษาผลกระทบของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

kruree 11 ธ.ค. 2561 เวลา 22:31 น. 0 964
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^