LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลัก

usericon

ชื่อวิจัย             รูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน) ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560
ผู้วิจัย             นายภิญญา รัตนวรชาติ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู
            (วิศิษฐ์วิทยาทาน) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ปีที่วิจัย             ปีการศึกษา 2559-2560

บทคัดย่อ
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ ด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ ของนักเรียน 3) ศึกษาพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ ของนักเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 107 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 111 คนกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 107 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 111 คน ประชากรครูปีการศึกษา 2559 จำนวน 29 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 12 ฉบับ มีลักษณะแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .89-.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ร้อยละ (Frequency Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สรุปผลการวิจัย
1.    ผลการศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครองและครู พบว่าปีการศึกษา 2559ครูเห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=3.68,  = 0.63) รองลงมาคือนักเรียนเห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
( = 3.46, SD = 0.79) ส่วนผู้ปกครอง เห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.34, SD = 0.79)
ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครองและครูพบว่า ครูเห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.57,  = 0.51) รองลงมาคือผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
( = 4.30, SD = 0.50) ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.24, SD = 0.63) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ตามความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ2 ปีการศึกษา พบว่ามีระดับการปฏิบัติมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
(t = 22.416; P < .01) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามความคิดเห็นของครูต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ พบว่ามีระดับการปฏิบัติมากขึ้นโดย ปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2559( =+0.89) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง ต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการพบว่า มีระดับ การปฏิบัติมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 32.236; P < .01)
    2. ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครองและครู พบว่าปีการศึกษา 2559 นักเรียนเห็นว่าการมีส่วนร่วมการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.38, SD = 0.72) รองลงมาคือครูเห็นว่าการมีส่วนร่วมการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.11, SD = 0.75)ส่วน ผู้ปกครองเห็นว่าการมีส่วนร่วมการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.09,  = 0.75) ปีการศึกษา 2560 พบว่า นักเรียนเห็นว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.32, SD = 0.65) รองลงมาคือ ผู้ปกครองเห็นว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก
( = 4.15, SD = 0.76) ส่วนครูเห็นว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.98,  = 0.71) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน พบว่าผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ย
สูงกว่า ปีการศึกษา 2559อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 22.436; P < .01) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน พบว่ามีระดับการปฏิบัติมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
(t = 17.456; P < .01) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ตามความคิดเห็น ของครูต่อการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน พบว่าผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559
( = + 0.87)
    3. ผลการศึกษาพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู พบว่าปีการศึกษา 2559 นักเรียนมีความเห็นต่อพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ ของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.48, SD
= 0.67) รองลงมาคือผู้ปกครองเห็นว่าพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.35, SD = 0.76) ส่วนครูเห็นว่าพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.30,  = 0.77) ปีการศึกษา 2560 พบว่า นักเรียนมีความเห็นต่อพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียนอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.51, SD = 0.73) รองลงมาคือผู้ปกครองเห็นว่าพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, SD = 0.72) ส่วนครูเห็นว่าพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.45,  = 0.70) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามความคิดเห็นของนักเรียนต่อพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน พบว่าพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (t = 24.524; P < .01) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อพฤติกรรม การมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่าพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 20.874; P < .01) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ตามความคิดเห็นของครูต่อพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน พบว่าพฤติกรรมการมีคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2559 ( = +1.15)
    4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.31, SD = 0.74) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มพบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.34, SD = 0.76) รองลงมาคือนักเรียนและครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยเท่ากัน (= 3.30,  = 0.75) , (= 3.30,
 = 0.70) ปีการศึกษา 2560 โดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.41,SD = 0.73) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.48, SD
= 0.72) รองลงมาคือผู้ปกครอง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย( = 4.42,  = 0.76)ส่วนครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.41,  = 0.73) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 ปี พบว่า ปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559โดยรวมสูงขึ้น ( = + 1.10) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน มากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 20.751; P < .01) เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน พบว่าผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากขึ้นโดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าปีการศึกษา 2559อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 21.362; P < .01) เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการของนักเรียน ปีการศึกษา 2559และปีการศึกษา 2560 พบว่าครูมีความพึงพอใจมากขึ้น โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2559 ( = +1.03)

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการประการแรก ผู้บริหารควรศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล และรายกลุ่มคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สืบเนื่องคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ ของนักเรียนเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ในการดำรงชีวิตและเป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จในอนาคต ที่สำคัญการพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ ของนักเรียนของนักเรียน ควรได้มีการคัดกรองความสามารถของนักเรียน ตามศักยภาพ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพเหมาะสมกับวัย และระดับชั้น นอกจากนั้น โรงเรียนควรจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ ของนักเรียน ทุกชั้นเรียน/ทุกสัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง โดยจัดเป็นกลุ่มสนใจให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มมีครูเป็นที่ปรึกษาให้การสนับสนุน ประการสุดท้ายการสร้างเครือข่ายเพื่อให้สถานศึกษาอื่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาต่อยอดการจัดกิจกรรมนักเรียนด้วยกระบวนการลูกเสือ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะค่านิยมหลัก 12 ประการ ให้กับนักเรียน
comhang2561 14 พ.ย. 2561 เวลา 07:58 น. 0 612
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^