LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

เผยแพร่บทคัดย่อ ของ นางสาววันดี โต๊ะดำ

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง        การประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุล ของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ผู้วิจัย        นางสาววันดี โต๊ะดำ
    ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1

    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุล(Balanced Scorecard : BSC) 2) เพื่อประเมินความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 2) แบบสอบถามสำหรับนักเรียนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 3) แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 4) แบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตรัง เขต 1 5) แบบสัมภาษณ์สำหรับครูผู้สอนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 7 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน
3) นักเรียนโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เป็นนักเรียนปกติมิใช่นักเรียนพิเศษเรียนร่วม ซึ่งเป็นชั้นที่มีความเหมาะสมในการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 31 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 107 คน
     ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินมุมมองด้านผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยครูผู้สอน พบว่า
1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้โดยครูผู้สอน ด้านผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องประเด็นการพิจารณาด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, =0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ยกเว้น นักเรียนมีความก้าวหน้าจากพื้นฐานเดิมในแต่ละปีในด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ตามหลักสูตร อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง และ นักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น หรือค่าเฉลี่ยเป็นไปตามเป้าหมายมีความเหมาะสมในระดับมาก ( =4.60 และ 3.60) ตามลำดับ
1.2 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้โดยครูผู้สอน ด้านผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องประเด็นการพิจารณาด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.86, =0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม สม่ำเสมอ นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ในความเป็นไทย และเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และ นักเรียนไม่เพิกเฉยต่อการกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชนและสังคมได้อย่างมีความสุข ( =5.00, =0.00) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผู้เรียนมีความรู้และมีวิธีการป้องกันตนเองจากการถูกล่อลวง ข่มเหง รังแก จากบุคคลอื่นที่ไม่ประสงค์ดี ( =4.60, =0.55)
2. ผลการประเมินมุมมองด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2.1 ผลการประเมินมุมมองด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยครูผู้สอน พบว่า
2.1.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.73, =0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนได้เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจนสอดคล้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติ ( =5.00, =0.00)
2.1.2 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66, =0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีแผนงาน โครงการที่ตอบสนองและสอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่นอย่างครอบคลุม และ ผลการจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนงาน โครงการ อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนกำหนดให้มีแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่น เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและสังคม ( =4.20, =0.45)
2.1.3 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมประเด็นการพิจารณาการมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, =0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนจัดให้มีกิจกรรมพิเศษต่างๆ อย่างหลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้เลือกเรียนรู้ตามความสนใจ ( =4.80, =0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง และนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ( =4.40, =0.55)
2.1.4 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, =0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีระบบในการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ( =4.80, =0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ( =4.40, =0.55)
2.1.5 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, =0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2.2 ผลการประเมินมุมมองด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน พบว่า
    2.2.1 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, =0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนได้เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจนสอดคล้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติ ( =4.80, =0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียนที่กำหนดมีความสอดคล้องและตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ( =4.40, =0.55)
    2.2.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณา การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71, =0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนางานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนกำหนดให้มีแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่น เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและสังคม ( =4.40, =0.55)
    2.2.3 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, =0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และผู้เรียนได้เรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เช่น การทำโครงงาน ( =4.80, =0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของตนเอง และ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ( =4.40, =0.55)
    2.2.4 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.73, =0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ( =5.00, =0.00)
    2.2.5 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, =0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีระบบ ขั้นตอน แนวปฏิบัติและระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีการจัดระบบการบันทึก การรายงานผลและการส่งต่อข้อมูลของผู้เรียน ( =4.80, =0.51)
    3. ผลการประเมินมุมมองด้านการพัฒนาบุคลากร
     3.1 ผลการประเมินมุมมองด้านการพัฒนาบุคลากรโดยครูผู้สอน พบว่า
    3.1.1 ความคิดเห็นครูผู้สอน ด้านการพัฒนาบุคลากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, =0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูมีการพัฒนาตนเองด้วยวิธีการต่างๆ แสวงหาความรู้ เทคนิควิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ( =4.80, =0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีแผนงาน โครงการและระบบที่ขัดเจนในการพัฒนาครูสู่มืออาชีพ และมีการดำเนินการพัฒนา ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพแก่ครูอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ( =4.40, =0.55)
    3.1.2 ความคิดเห็นครูผู้สอน ด้านการพัฒนาบุคลากร ประเด็นการพิจารณาความพึงพอใจ ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.48, =0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ท่านพึงพอใจกับค่าตอบแทนที่ได้รับ และ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับความต้องการ ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ( =4.80, =0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ท่านพึงพอใจในสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และการทำงานร่วมกับผู้บริหารและครูผู้สอนคนอื่นๆ และ ท่านพึงพอใจ เกิดความรัก ศรัทธาในวิธีการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ( =4.20, =0.45)
3.2 ผลการประเมินมุมมองด้านการพัฒนาบุคลากรโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน พบว่าความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนาบุคลากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.36, =0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูมีคุณธรรม จริยธรรมและปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีความมุ่งมั่นและอุทิศตนในการสอนและพัฒนานักเรียน ( =4.60, =0.55) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูมีวุฒิ มีความรู้ ความสามารถและทักษะเหมาะสมตามมาตรฐานตำแหน่ง และ ครูสอนตรงตามวิชาเอก/วิชาโท หรือความถนัด มีครูครบชั้นและห้องมีxxxส่วนครูต่อนักเรียนและมีจำนวนคาบสอนตามเกณฑ์ ( =4.20, =0.45)
4.ผลการประเมินมุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร
4.1 ผลการประเมินมุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากรโดยครูผู้สอน พบว่า
4.1.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.36, =0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ดีและกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารที่เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน และ สถานศึกษามีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวก เพียงพอและอยู่ในสภาพใช้การได้ดี ( =4.00, =0.00)
4.1.2 ความคิดเห็นของครูผู้สอน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, =0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการประเมินแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงที่ดีขึ้น โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ( =4.40, =0.55)
4.1.3 ความคิดเห็นของครูผู้สอน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณางบประมาณในการบริหารจัดการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เพียงพอและคุ้มค่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, =0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีแผนการใช้งบประมาณเพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนใช้งบประมาณ สื่อ ทรัพยากรต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างคุ้มค่าและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ( =4.50, =0.58)
4.2 ผลการประเมินมุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากรโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน พบว่า
4.2.1 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, =0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนใช้สื่อ ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่าและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการให้บริการ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( =4.40, =0.55)
4.2.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, =0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการประเมินแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงที่ดีขึ้น โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ( =4.40, =0.55)
4.2.3 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่นโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด( =4.64, =0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีแผนการใช้งบประมาณเพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ( =5.00, =0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนใช้งบประมาณ สื่อ ทรัพยากรต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างคุ้มค่าและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ( =4.40, =0.55)
5.ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 พบว่า
    5.1 ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนของนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.27, S.D.=0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ คำสั่งสอนของครูมีประโยชน์ต่อการเรียน การดำเนินชีวิต ( =4.62, S.D.=0.52) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถ มีทักษะด้านต่างๆและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ( =3.88, S.D.=0.72)
5.2 ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.33, S.D.=0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถ มีทักษะด้านต่างๆและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ( =4.70, S.D.=0.47) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างหลากหลาย ได้ใช้ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ( =3.97, S.D.=0.76)


DEE-DEE 04 ก.ย. 2561 เวลา 19:29 น. 0 727
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^