LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

usericon


ชื่อผลงาน            การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้นำเสนอ            นางสาวศรัญญา เก่งกล้า ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
หน่วยงานที่สังกัด        โรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้    ภาษาไทย
ปีการศึกษา            2560

บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 คน ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยแบบ One Group Pretest – Posttest Design ใช้ระยะเวลาทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก-ง่ายระหว่าง 0.24 – 0.88 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 – 0.74 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
    1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง
คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.75/85.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบ การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 10.12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50.62 และหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 17.12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.62 และมีความก้าวหน้าเฉลี่ย 7.00 คิดเป็นร้อยละ 69.17
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกาเย่ (Gange Teaching Model) เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยพิจารณาทั้งภาพรวมและเป็นรายข้อ ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับ มาก
sknooknik 19 เม.ย. 2561 เวลา 09:46 น. 0 692
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^