LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.สมุทรสาคร - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสาคร 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2

การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนอน

usericon

การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  โรงเรียนอน
ชื่อเรื่อง         การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ จังหวัดพะเยา
ผู้วิจัย         นายพีรศิษฐ์ เผ่าต๊ะใจ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ
                        โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านถ้ำ
        อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
ปีที่วิจัย        2556

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ จังหวัดพะเยาให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ 2 วงจร (Spiral) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 5 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และครู จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งหมด 9 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบสังเกตพฤติกรรมของครู แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบประเมินความพร้อมในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ จากแบบสังเกตพฤติกรรมของครูระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย แบบประเมินความพร้อมในการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) สรุปเป็นประเด็นและนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการสรุปอภิปรายผล ให้ข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้พัฒนาศักยภาพครูโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ กับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร สรุปผลการวิจัย ดังนี้
การวิจัยการพัฒนาบุคลากรในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ จังหวัดพะเยา ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการโดยดำเนินการพัฒนา 2 วงจร ผลจากการดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 1 โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ ให้ผู้ร่วมวิจัยจำนวน 4 คน ผลปรากฏว่า ผู้ร่วมวิจัย 3 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตามกรอบการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรม ไปใช้จัดประสบการณ์ในชั้นเรียนได้ ส่วนผู้ร่วมวิจัยอีก 1 คน ยังไม่สามารถนำแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไปใช้ในการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนได้ ผลจากการดำเนินการพัฒนา วงจรที่ 2 ได้แก่ การนิเทศแบบกัลยาณมิตร เพื่อให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 1 คน สามารถนำแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่เขียนไว้ไปใช้จัดประสบการณ์ได้จริงในชั้นเรียนได้ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันนิเทศแบบกัลยาณมิตรกับเพื่อนครูแบบการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อสร้างความมั่นใจ และให้ข้อเสนอแนะและพัฒนาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในชั้นเรียนได้ หลังการพัฒนาพบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 1 คน สามารถจัดประสบการณ์ได้เป็นที่น่าพอใจทั้ง 6 กิจกรรม
สรุปผลดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนการพัฒนา ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ไม่สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามกรอบการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรม ไปใช้ในจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนได้ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้พัฒนาโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ กับการนิเทศแบบกัลยาณมิตร หลังการดำเนินการพัฒนาทั้ง 2 วงจร พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ทั้ง 4 คน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามกรอบการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรม ไปใช้ในจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
phirasit 06 ก.พ. 2558 เวลา 13:21 น. 0 998
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^