LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

สาธิต เสือทอง

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ
        การแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
        ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย        นายสาธิต เสือทอง

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินผลความต้องการในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 4) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จำนวน 34 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนกับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบ t-test dependent


    ผลการวิจัยพบว่า
    1.    รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า “RCPS Model” มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจ (Realization) ขั้นที่ 2 ประมวลความรู้ (Comprehension) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ขั้นที่ 4 สรุปสมเหตุผล (Summary-Conclusion) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (RCPS Model) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.93/81.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    2.    ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
    3.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
    4.    ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
    5.    ผลการขยายผล พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียน การสอนคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก    
satit_sua 14 ก.พ. 2561 เวลา 13:37 น. 0 706
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^