LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5 18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567

ประเภทชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ผู้พิทักษ์ขุมทร

usericon

ประเภทชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ผู้พิทักษ์ขุมทร
ประเภทชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ผู้พิทักษ์ขุมทรัพย์ก้นอ่าวไทย    
ชื่อชุมชน : กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ต.บางขุนไทร อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
พื้นที่ป่า : พื้นที่ชายฝั่งทะเลประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 11 หมู่บ้าน 1 ตำบล ประชากร 7,471 คน
พื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร ที่ทอดยาวไปตามชายฝั่งด้านตะวันออกของตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านเเหลม จังหวัดเพชรบุรี อาจดูน้อยนิดเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 6,000 ไร่ บริเวณภาคกลางหรือก้นอ่าวไทย แต่ทว่าผืนป่าและชายฝั่งทะเลแห่งนี้คือ “แหล่งผลิตหอยแครงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” และอาจกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หอยแครงตามธรรมชาติแหล่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ด้วย โดยมี “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล” หรือ หมู่บ้านกระดานถีบ เป็นแกนกลาง รักษา “ขุมทรัพย์” แห่งนี้ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน
เมื่อถึงวันน้ำลงบริเวณหาดโคลนที่ทอดยาวไปตามโค้งอ่าวบางขุนไทร จะคราคร่ำไปด้วยผู้คนที่สาละวนอยู่กับการถีบกระดานหาหอยแครง ที่ฝังตัวอยู่ตามโคลนเลน นี่คือวิถีชีวิตของ “หมู่บ้านกระดานถีบ” ที่สืบทอดภูมิปัญญาการหาอยู่หากินจากบรรพบุรุษมานานนับร้อยปีแล้ว สะท้อนถึงความเคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติ เก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยสองมือสองเท้าอย่างพอเพียงและรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด เพียงกระดานแผ่นเดียว พวกเขาก็สามารถโลดแล่นไปบนทะเลโคลน เก็บเกี่ยวหอยแครงตามแรงกำลังไม่แบ่งแยกว่าใครประกอบอาชีพอะไร แต่ละเดือนธรรมชาติจะผลิตหอยแครง ให้พวกเขาเก็บได้ประมาณ 22 วัน ผลผลิตที่ได้ราว 220 ตันต่อเดือน ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความอุดมของทรัพยากรจากชายฝั่งทะเลแห่งนี้ได้อย่างดี ชาวบ้านแถบนี้กว่า 400-500 ครอบครัว มีรายได้ยังชีพจากหอยแครงไม่น้อยกว่า 200-300 บาทต่อวัน ทำให้ทรัพยากรเหล่านี้ยังคงอยู่ให้พวกเขาได้กินได้ใช้ตลอดมา
พ.ศ. 2534 “เรือคราดหอย” สัญลักษณ์แห่งการกอบโกยก็รุกล้ำเข้ามาจากตำบลอื่น เรือคราดหอยสามารถจับหอยแครงได้ถึง 30 กิโลกรัมภายในเวลา 30 นาที ขณะที่ชาวบ้านต้องใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง ชาวบ้านหลายครอบครัวต้องละทิ้งถิ่นฐานอพยพไปหางานทำที่อื่น ทำให้ชาวบ้านเริ่มหันหน้ามาพูดคุยกันหาหนทางที่จะปกป้อง และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างกันให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนถาวร โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่านี่คือความหมายหนึ่งของการ “อนุรักษ์”
ในปี พ.ศ.2535 จากการเริ่มประชุม กติกาชุมชน โดยมีกฎดังนี้ ห้ามชาวบ้านใช้เครื่องมือใดๆ ในการเก็บหอยแครง จะต้องเก็บด้วยมือเปล่าเท่านั้น และห้ามเก็บหอยที่มีขนาดเล็กกว่า 6 มิลลิเมตร ป้องกันการสูญพันธุ์ ส่วนกลุ่มเรือคราดหอย โดยมีข้อตกลงร่วมกัน ห้ามเรือคราดหอยคราดเข้ามารุกล้ำ ระยะห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่ง 3 กิโลเมตรแต่ข้อตกลงก็มิใช่ข้อยุติ เพราะต่อมาไม่นานปัญหานี้ก็เกิดขึ้นอีก
ในปี พ.ศ.2536 “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล” จึงเกิดขึ้นจากการวมตัวกันของชาวบ้านทุกสาขาอาชีพในตำบลบางขุนไทร ด้วย “จิตสำนึกสาธารณะ” ที่พวกเขาบอกว่า “การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน จะไปรอแต่หน่วยงานภาครัฐอย่างเดียวคลไม่ได้” จากอาสาสมัคร 36 นาย ในครั้งแรก ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกเป็นทางการประมาณ 60 คน มีการจัดโครงสร้างกลุ่มชัดเจนมากขึ้น ยังคงปฏิบัติการตรวจตราปราบปรามและจับกุมผู้กระทำความผิด ในเขตพื้นที่อนุรักษ์เช่นเดิม โดยมีชาวบ้านที่เก็บหอยแครง 400-500 ครอบครัว เป็นสมาชิกตามธรรมชาติคอยส่งข่าวคราวการบุกรุกของเรือคราดหอยให้ทราบ
เรืออีป๊าบ” เรือตรวจการณ์ลำเล็กๆ ที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้าน คือ อาวุธขอบชุมชนที่ต่อสู้กับการรุกล้ำของนายทุนด้วย “เรือคราดหอย” ซึ่งอาจเทียบกันไม่ได้แต่พวกเขาก็ไม่เคยท้อแท้ใจ “นักสู้แห่งบางขุนไทร” เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ด้านหลังเสื้อที่สมาชิกในกลุ่มใส่ออกปฏิบัติงาน บ่งบอกถึงเลือดนักสู้น้ำเค็มที่ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ และในที่สุดความมุ่งมั่น ทุ่มเทของพวกเขาก็เป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน
ปี พ.ศ.2538 พวกเขาจึงมี “เรือบ๊วย” ลำใหญ่ที่ได้จากการระดมทุนของชาวบ้านทุกสาขาอาชีพมาเป็นเรือตรวจการณ์ที่พอจะต่อกรกับเรือคราดหอยได้ เป็นสมบัติส่วนรวมที่ชาวบ้านทุกคนภาคภูมิใจ รักษาป่าชายเลน รักษาบ้านของสรรพชีวิต ทำให้หอยแครงมีมากขึ้น ชาวบ้านก็เริ่มกลับมาหากินในท้องถิ่น
แนวคิดที่ได้
การจะเป็นนักอนุรักษ์ได้นั้นไม่จำเป็นต้องมาจากอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยากอนุรักษ์ไว้ก็ได้ เพียงขอให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และทำอย่างมีแบบแผนสม่ำเสมอ อย่างเช่นอาสาสมัคร 36 นาย ในครั้งแรกของคนบางขุนไทร

ความสำเร็จและยั่งยืนของโครงการ
กลุ่มองค์กรท้องถิ่นเข้มแข็ง มีกระบวนการกลุ่ม ระบบการทำงานโครงสร้างชัดเจน เปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม และการเข้าไปอยู่ในองค์กรบริหารส่วนตำบลทำให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านทุกคนมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน ช่วยกันดูแลรักษา โดยบริจาคเงินสมทบเป็นกองทุนอนุรักษ์ครอบครัวละ 10 บาทต่อเดือน
รักษาพื้นที่ป่าชายเลน 400 – 500 ไร่ และชายฝั่งทะเลประมาณ 27 ตารางกิโลเมตรไว้ได้ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะเป็น “แหล่งเพาะพันธุ์หอยแครงตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแหล่งสุดท้ายของประเทศไทย”
ชาวบ้านในชุมชนมีงานทำตลอดปี ไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน มีรายได้ประมาณวันละ 200 – 300 บาท
เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การเกิดประชาสังคม โดยเกิดการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ ในท้องถิ่น ทำงานประสานเชื่อมโยงกัน โดยมีเวทีชาวบ้านเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น นำมาซึ่งความสำเร็จในการจัดทำ “ประชาคมตำบลบางขุนไทร”
Prachaya2242 17 ธ.ค. 2557 เวลา 14:35 น. 0 920
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^