LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.สมุทรสาคร - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสาคร 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2

การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศ

usericon

ชื่อเรื่อง    การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
        ปีการศึกษา 2560
ผู้ศึกษา    สุภาพ ไฝสัมฤทธิ์
ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
        สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38

บทคัดย่อ

     การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
ปีการศึกษา 2560 เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ผู้ประเมินเลือกใช้รูปแบบการประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม มีวัตถุประสงค์ย่อยได้ดังนี้
    1.     เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation)
    2.    เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation)
    3.     เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process Evaluation)
        3.1 เกี่ยวกับการดำเนินงาน
        3.2 เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของครู
    4.     เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation)
        4.1 พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
        4.2 ความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ประเมินได้สร้างแบบประเมิน จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้
    ฉบับที่ 1 แบบประเมินบริบทความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 นโยบายโรงเรียน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ความต้องการและความจำเป็นของโรงเรียน จำนวน 13 ข้อ ใช้สำหรับสอบถามผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอน
    ฉบับที่ 2 แบบประเมินเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน
กงไกรลาศวิทยา อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ใช้สอบถามครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 ตอนๆ ละ 13 ข้อ คือ
    ตอนที่ 1 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์
ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” จำนวน 13 ข้อ
    ตอนที่ 2 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 13 ข้อ
ตอนที่ 3 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ จำนวน13 ข้อ
    ตอนที่ 4 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมฐานคุณธรรม จำนวน 13 ข้อ
    ตอนที่ 5 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมค่ายคุณธรรม จำนวน 13 ข้อ
    ฉบับที่ 3 แบบประเมินเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานตามโครงการกับ ความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผล และสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) ใช้สอบถามครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน มี 5 ตอนๆ ละ 10 ข้อ คือ
    ตอนที่ 1 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
    ตอนที่ 2 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
    ตอนที่ 3 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
    ตอนที่ 4 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมฐานคุณธรรม (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
    ตอนที่ 5 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมค่ายคุณธรรม (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4 แบบประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของครู ใช้สอบถามนักเรียน มี 5 ตอนๆ ละ 12 ข้อ คือ
    ตอนที่ 1 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
    ตอนที่ 2 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
    ตอนที่ 3 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
    ตอนที่ 4 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมฐานคุณธรรม(การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
    ตอนที่ 5 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมค่ายคุณธรรม (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
ฉบับที่ 5 แบบประเมินผลผลิตของโครงการที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมของนักเรียนในด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี ความประหยัด การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียรและความเมตตากรุณา ใช้สอบถามครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน มี 11 ตอนๆ ละ
9 ข้อ คือ
    ตอนที่ 1 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรับผิดชอบของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
    ตอนที่ 2 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
ซื่อสัตย์ของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
    ตอนที่ 3 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมี
เหตุผลของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
    ตอนที่ 4 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
กตัญญูกตเวทีของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 5 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมี
วินัยของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 6 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
เสียสละของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 7 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
สามัคคีของนักเรียน
ตอนที่ 8 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านความ
ประหยัดของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 9 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านการ
พึ่งตนเองของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 10 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านความ
ขยันหมั่นเพียรของนักเรียน จำนวน 7 ข้อ
ตอนที่ 11 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านความ
เมตตาของนักเรียน จำนวน 8 ข้อ
ฉบับที่ 6 แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 ข้อ
โดยแบบสอบถามทุกฉบับมีลักษณะเป็นแบบอัตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท ( Likert )
    การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
ปีการศึกษา 2560 ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับโครงการเป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมด ดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการ จำนวน 5 คน ครูผู้สอนจำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ม.1 – ม.6 จำนวน 271 คน และนักเรียนชั้น ม. 1 – ม.6 จำนวน 271 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำผลของการคำนวณมาแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    ผลการประเมินโครงการ
    1. บริบทของโครงการ (Context Evaluation) เกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 นโยบายโรงเรียนและความต้องการจำเป็นของโรงเรียน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน พบว่าผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นว่าโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 มีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 นโยบายของโรงเรียน หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ความต้องการและความจำเป็นของโรงเรียน โดยภาพรวมระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก μ = 4.43
    2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอของโครงการในกิจกรรม 5 กิจกรรม การวางแผนงบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน จากการประเมินพบว่า กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.67 กิจกรรมฐานคุณธรรม อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.53 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับ มาก μ = 4.42 กิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ อยู่ในระดับ มาก μ = 4.39 กิจกรรมค่ายคุณธรรม อยู่ในระดับ มาก μ = 4.37 สรุปทั้ง 5 กิจกรรม มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.48
     3. ประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process Evaluation) พบว่า
     3.1) กิจกรรมฐานคุณธรรม (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มากที่สุด
μ = 4.72 กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.65 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.47 กิจกรรมค่ายคุณธรรม (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.41 กิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.37 สรุปทั้ง 5 กิจกรรม (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.52
     3.2) กิจกรรมฐานคุณธรรม (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.67กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.53 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.43 กิจกรรมค่ายคุณธรรม (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.41 กิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.17 สรุปทั้ง 5 กิจกรรม (การจัดกิจกรรมของครู) มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.44
    สรุปประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process Evaluation) ทั้งด้านกระบวนการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.52 และ การจัดกิจกรรมของครู มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.44 เฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.48
    4. ผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) พบว่า
     4.1) พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความมีวินัย อยู่ในระดับ มากที่สุด
μ = 4.67 ความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.61 ความรับผิดชอบอยู่ในระดับ มากที่สุด
μ = 4.54 ความมีเหตุผล อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.51 ความเสียสละ อยู่ในระดับ มาก
μ = 4.49 ความสามัคคี อยู่ในระดับ มาก μ = 4.48 ความกตัญญูกตเวที อยู่ในระดับ มาก
μ = 4.46 ความประหยัด อยู่ในระดับ มาก μ = 4.44 การพึ่งตนเอง อยู่ในระดับ มาก μ = 4.43 ความขยันหมั่นเพียรอยู่ในระดับ มาก μ = 4.39 และความเมตตาอยู่ในระดับ มาก μ = 4.37 พบว่าทุกรายการมีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.49
     4.2) ความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 เรียงลำดับโครงการจากความพึงพอใจมากไปหาน้อยจะเรียงกิจกรรมได้ดังนี้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.67 กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.64 กิจกรรมฐานคุณธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.58 กิจกรรมค่ายคุณธรรม อยู่ในระดับมาก μ = 4.45 และกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ อยู่ในระดับมาก μ = 4.23 และเฉลี่ยรวมทุกกิจกรรมแล้วความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการทั้ง 5 กิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.51
    สรุปผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ทั้งด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี ความประหยัด การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียรและความเมตตาอยู่ในระดับมาก μ = 4.49 และความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.51 โดยรวมแล้ว มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.50
    สรุป การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 ด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) โดยภาพรวมระดับความสอดคล้องกับโครงการอยู่ในระดับมาก μ = 4.43 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) มีความเหมาะสม เพียงพอของโครงการ อยู่ในระดับมาก μ = 4.48 ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ทั้งด้านกระบวนการดำเนินงาน และ การจัดกิจกรรมของครู มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.48 และด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ทั้งด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการ โดยรวมแล้ว มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.50
    จากการสรุป พบว่า ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการ ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 ส่งผลให้ ด้านผลผลิตของโครงกรอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมของโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ซึ่งหากต้องการให้โครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผู้จัดทำเห็นสมควรเน้น ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการในการดำเนินงานของโครงการให้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตของโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
supap.noinoi 23 พ.ย. 2560 เวลา 14:04 น. 0 839
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^