LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

บทคัดย่อ อิเหนาเพื่อเสริมสร้าง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้าง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ผู้ศึกษา นางพิมพ์ชญา พูลศิริอุดมฤกษ์
ปีที่ศึกษา    2558
สถานศึกษา    โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและประเมินความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Ramdom Sampling) โดยจัดห้องเรียนของโรงเรียนคละความสามารถของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องและนักเรียน กลุ่มตัวอย่างต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยการทดสอบค่า ที (t-test dependent) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้
1.ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีความเห็นว่าจำเป็นและต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ 1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดพื้นฐานของการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ 4) แหล่งการเรียนรู้ 5) การประเมินการเรียนการสอน 6) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ (ระบบสังคม ระบบสนับสนุน และหลักการตอบสนอง) โดยในองค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นการคิด ขั้นสำรวจ ขั้นระดมสมองและไตร่ตรอง ขั้นอธิบายด้วยเหตุผล และขั้นสรุปและสะท้อนความคิด
3. หลังการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้ผลการวิจัยดังนี้
1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3) ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกด้าน
4) การประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยภาพรวม พบว่าหลังการทดลองนักเรียนมีคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับสูง
4. ระดับความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องและนักเรียนต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมทั้งด้านรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา และด้านความพึงพอใจ มีระดับ ความคิดเห็นอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก
pimchaya191 26 ส.ค. 2560 เวลา 23:04 น. 0 2,058
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^