LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

Best Practice "คอมพิวเตอร์น่ารู้ สู่ยุค ICT"

usericon

Best Practice
แบบสรุปผลงานนวัตกรรม โรงเรียนในฝัน (Best Practice)

ชื่อผลงาน          คอมพิวเตอร์น่ารู้ สู่ยุค ICT
ชื่อผู้เสนอผลงาน    นางสาวปัทมา ยาวงษ์
ตำแหน่ง        ครูผู้ช่วย โรงเรียนวัดท่ายาง
สังกัด            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
โทรศัพท์มือถือ        081-4763749     e-mail:    yawong_pattama@hotmail.com
**************************************

1. ความสำคัญของนวัตกรรม
1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา
        ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเป็นอย่างมาก อาทิ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารจัดการ ตลอดจนการส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่เพียงแต่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงขึ้น แต่ยังมีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆ เข้ามาสู่ระบบดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นด้วย จึงทำให้ความรู้ต่างๆ มีความยึดหยุ่นต่อการค้นคว้ามาใช้งานง่ายและมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลในยุคปัจจุบันจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถได้รับประโยชน์จากการศึกษามากขึ้นกว่าเดิมซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ นอกจากนี้การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น เป็นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระหรือประสบการณ์สำหรับให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจัดเป็นลักษณะ บทเรียน หน่วยการเรียนหรือโปรแกรมการเรียน ซึ่งลักษณะของสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นเฟรมหรือกรอบเรียงลำดับไปเรื่อยๆ มีการสร้างการเคลื่อนไหวของภาพ เป็นสื่อที่ใช้ในการนำเสนอโดยใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ประกอบการบรรยาย สามารถนำเสนอได้ทั้งภาพและเสียง สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสอนในห้องเรียน และหากประกอบกับการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอน มีเอกสารประกอบการเรียนที่อธิบายอย่างละเอียด มีตัวอย่างประกอบแบบแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
        ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมถึงประโยชน์และการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้นักเรียนได้ต่อยอดในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้เป็นการส่งเสริมให้ครูได้สร้างสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และรับประสบการณ์ด้าน ICT นอกเหนือจากการสอนแบบเดิม ส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาในด้านทักษะและการเรียนรู้ที่อย่างถาวรและยั่งยืน
1.2 แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
        เพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในฐานะที่เป็นผู้สอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของนักเรียนโรงเรียนวัดท่ายางนั้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint สร้างเนื้อหาบทเรียนต่างๆ โดยออกแบบวิธีการสอนที่เหมาะสมเข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียน ซึ่ง ทิศนา แขมณี (2553 : 95) ได้กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบสร้างความรู้ ครูจะมีบทบาทต่างไปจากเดิม จากการเป็นผู้การถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ คือ การเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนไปจาก “instruction” ไปเป็น “construction” คือ เปลี่ยนจาก “การให้ความรู้”ไปเป็น “การให้ผู้เรียนสร้างความรู้” บทบาทของครูก็คือ จะต้องทำหน้าที่สร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน ดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปในทางที่ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน ดูแลให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนั้นครูยังต้องมีความเป็นประชาธิปไตยและมีเหตุผลในการสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วย
        ผู้สอนจึงเล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการนำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเข้ามาใช้ในการเรียนการเรียนการสอน จึงผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่ายาง เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ของนักเรียน สามารถสร้างความสนใจ แรงดึงดูดในการเรียนและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
    2.1 จุดประสงค์:
    1) เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
    2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.2 เป้าหมาย:
    1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
    2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
    3.1 การออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
    ศึกษาแนวคิดการออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของ บัณฑิต พฤฒเศรณี (2551: 16-17) และนำมาประยุกต์ในการออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ตามขั้นตอน ดังนี้
        - การวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำมาสร้าง ประกอบด้วย หลักสูตร มาตรฐาน ตัวชี้วัด ลักษณะการเรียนการสอนการสอน ทฤษฎี เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นข้อมูล การนำเสนอ เช่น เอกสารรูปภาพ ตาราง กราฟ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่เคยใช้สอนในห้องเรียนหรือการนำเสนอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหลักการ โดยเนื้อหาเปลี่ยนแปลงได้ยากเพราะเป็นทฤษฎีตายตัว นอกจากจะมีการคิดค้นทฤษฎีใหม่ขึ้นมาแทนที่ทฤษฎีเก่าต้องเปลี่ยนเนื้อหาตามโดยต้นฉบับสื่อยังอยู่ก็สามารถแก้ไขสื่อชิ้นงานได้ การสอนปฏิบัติ เนื้อหาส่วนนี้จะมุ่งเน้นในเรื่องการปฏิบัติที่ให้เกิดความคิด ความเข้าใจ ทักษะ หรือการสร้างเหตุการณ์สมมติฐาน การออกแบบกิจกรรมบทเรียน การสร้างภาพเคลื่อนไหว การออกแบบกิจกรรมที่ใช้ในห้อง รวมถึงการสร้างวัตถุการเรียนรู้ ไปสอนในส่วนเนื้อหาที่เข้าใจยาก
        - องค์ประกอบของสื่อที่นำมาใช้ ความสำคัญขององค์ประกอบที่นำมาสร้างชิ้นงานนั้น ต้องคำนึงถึงวิธีการนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ ตัวอักษร ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
            - รวบรวมข้อมูลสำหรับการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีการกำหนดเนื้อหาสาระให้ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยมีเนื้อหา ได้แก่ รู้จักคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ การเปิด ปิด คอมพิวเตอร์ การใช้เมาส์ การใช้แป้นพิมพ์ อุปกรณ์ประมวลผลและแสดงผล ข้อควรปฏิบัติในการใช้คอมพิวเตอร์และวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
        - สร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ซึ่งแต่ละเรื่องประกอบด้วย ชื่อเรื่อง เนื้อหา กิจกรรม เป็นต้น
    นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ใช้ควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว
    3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
        การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ผู้ศึกษาได้ดำเนินงานตามกิจกรรม ดังนี้
             1) ปฐมนิเทศนักเรียน เพื่อทำความเข้าใจชี้แจงกับนักเรียนถึงวิธีการเรียนรู้โดยการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทบาทของนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนใน การจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
             2) ก่อนดำเนินงานตามกิจกรรม นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Pre – test) เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 ข้อ ทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแล้วบันทึกผลการทดลองเป็นคะแนนสอบก่อนเรียน
             3) คะแนนการระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ตามลำดับและทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้และนำผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่ละเรื่อง เป็นการเก็บคะแนนระหว่างเรียน
             4) เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ผู้ศึกษาได้ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post – test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ใช้ก่อนเรียน จำนวน 30 ข้อและให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
             5) ตรวจให้คะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและแบบสอบถามความพึงพอใจ นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ
    3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
        จากการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ตามการดำเนินงานตามกิจกรรม พบว่า ส่งผลให้นักเรียนได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ เป็นการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ดังนี้
        1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้รับการพัฒนาในด้านทักษะคอมพิวเตอร์ และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สามารถบอกถึงความเป็นมา อุปกรณ์พื้นฐาน อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมถึงประโยชน์และการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ที่จะเป็นพื้นฐานให้นักเรียนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเรียนในระดับที่สูงขึ้น
    3.4 การใช้ทรัพยากร
        ในการดำเนินการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้นในครั้งนี้ ได้คำนึงความประหยัดและความคุ้มค่าในการจัดทำใบกิจกรรม ใบงานให้กับนักเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้พร้อมกันผ่านเครื่องโปรเจคเตอร์ การทำกิจกรรมในบางครั้งให้นักเรียนบันทึกและทำลงในสมุด โดยครูเป็นผู้ที่คอยชี้แนะให้กับนักเรียน นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถนำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ครูสร้างขึ้นไปศึกษาด้วยตนเองโดยนำสื่อดังกล่าวบันทึกลงซีดีให้กับนักเรียน เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร อีกทั้งนักเรียนได้มีการพัฒนาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้อีกด้วย    

4. ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน
    4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
        1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ก่อนและหลังการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.25 และ 68.22 และมีประสิทธิภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น 85.27/84.17 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น พบว่า คะแนนหลังการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในด้านรูปแบบของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69) ด้านเนื้อหาของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก ( = 4.33) ด้านตัวอักษรและสีของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก ( = 4.22) และด้านประโยชน์ในการเรียนรู้ของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก ( = 4.49)
    4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
        1) นักเรียนมีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นด้วย
        2) ครูมีความสามารถในการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อความรู้ความสามารถของผู้เรียน
    4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
         1) ครูผู้สอนมีสื่อการเรียนรู้เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อส่งเสริมทักษะต่างๆ พัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและเป็นการมุ่งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางการศึกษา การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
        2) นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์และได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. ปัจจัยความสำเร็จ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการ ได้แก่
         1) ผู้บริหารโรงเรียนวัดท่ายาง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่ายาง รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่ายาง มีการให้การแนะนำ ส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้องกับการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
        2) ได้รับคำแนะนำ คำปรึกษา ตลอดจนการช่วยดูแลปรับปรุงแก้ไขสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
        3) ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ในการจัดทำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อนำมาใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
        4) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา การร่วมคิด ร่วมทำ อย่างเป็นระบบ การมีส่วนร่วมของนักเรียนที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการเรียนการสอนและนำผลที่ได้จากการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาทักษะให้กับนักเรียน จนนำไปสู่คุณภาพที่ยั่งยืนของผู้เรียน

6. บทเรียนที่ได้รับ
    1) ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีความรู้สามารถพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการศึกษาค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลกระทั่งประสบความสำเร็จ
    2) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยพัฒนาให้นักเรียนให้สามารถศึกษาเนื้อหา ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากหนังสือแบบเรียนและสามารถทำให้นักเรียนได้รับความรู้ครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของหลักสูตร
    3) ครูผู้สอนมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการสอนในเรื่องอื่น ๆ
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
    7.1 การเผยแพร่
        จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ครูผู้สอนในวิชาคอมพิวเตอร์และเป็นผู้สร้างและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ในการจัดทำครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เผยแพร่ผลงานไปยังโรงเรียนต่างๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจากการเผยแพร่ผลงานดังกล่าว สามารถสรุปภาพรวมของการแสดงความคิดเห็นของโรงเรียนต่างๆ เช่น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความน่าสนใจ เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน ระดับช่วงวัยของนักเรียน เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้จริงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
14 ก.ย. 2557 เวลา 11:18 น. 0 8,069
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^