LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่น ตามแนวการสอน แบบอิง

usericon

การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่น ตามแนวการสอน 	แบบอิง
บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่น ตามแนวการสอน
    แบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    นางสาววิไลลักษณ์ แก้วสด
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน    โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย            2556


    การศึกษาทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก    เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วัตถุประสงค์เฉพาะ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ (1) รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ (3) แบบสัมภาษณ์ (4) แบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (dependent sample)
    การวิจัยเรื่องนี้ดำเนินการตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดในการดำเนินงานเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 2 สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์เพื่อทดลองความเป็นไปได้ของรูปแบบการสอน โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 กลุ่มนักเรียนทดลองนำร่อง จำนวน 28 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวนนักเรียน 32 คน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์

ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้องค์ความรู้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันจริงด้านความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษตามมารยาทสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ได้แก่เรื่อง เมื่อพบนักท่องเที่ยว การหาที่พัก สถานที่น่าท่องเที่ยว เทศกาลน่าชม อาหารที่อร่อย ของฝาก ค่ารถและการเดินทาง และธรรมเนียมไทยที่ควรรู้ และได้ทดลองปฏิบัติใช้ภาษาทั้งในและนอกห้องเรียน
    2. ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะของผู้เรียนที่มีความตั้งใจติดตามการเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความคิดไตร่ตรอง มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับการมอบหมาย มีความกระตือรือร้น รู้จักเรียนและรู้จักตนเอง ผลการประเมินรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ระดับมาก ( = 4.47) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น จากการทดลองนำร่องพบว่า การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพไปตามเกณฑ์ คือ E1/E2 = 77.30/78.39
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังสอนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาสูงกว่าความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษบริบทท้องถิ่นตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ อยู่ในระดับมาก ( x=4.22, S.D = 0.89)
Wilailuck72 11 ก.ย. 2557 เวลา 22:50 น. 0 894
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^