LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยม

usericon

การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยม
ชื่อเรื่อง     การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ    
ผู้วิจัย นางสาวปาริชาติ วงศ์สง่า ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา    โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย
จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์    2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา และความต้องการ ในการจัดการเรียนการสอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม 2) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบการจัดกิจกรรม แบบกลุ่มร่วมมือ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ
4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 49 คน
ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 28 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.45 - 0.68 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.30 - 0.73 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 - 17 มกราคม 2556 และแบบประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index)


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม การจัดสภาพการจัดการเรียน
การสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความต้องการในการจัด การเรียนการสอนอยู่ ในระดับมาก และผู้เรียนมีสภาพการเรียนที่พัฒนาทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับน้อย แต่ความต้องการการเรียนที่จะพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก
2. แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.52/88.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน
4. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.7761 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้า และมีความรู้ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.61
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมืออยู่ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนั้น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
innova 08 ก.ย. 2557 เวลา 14:55 น. 0 757
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^