LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

usericon

ชื่อเรื่อง :     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนบ้านปางอ้อย
ผู้รายงาน :    นายเดชา ประชุม
หน่วยงาน     โรงเรียนบ้านปางอ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2
ปีการศึกษา :     2559

    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านปางอ้อยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2
มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านปางอ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2ในด้านการวางแผน(Planning) การดำเนินการ (Doing) การติดตามและประเมินผล(Checking) และการปรับปรุงพัฒนา (Acting)โดยกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพ (PDCA)
    ประชากรที่ใช้รายงาน เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 24 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและที่ปรึกษาจำนวน 15 คน ในปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้นจำนวน70 คน
     เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมโครงการและแบบประเมินผลสำเร็จของโครงการจำนวน 3 ชุดได้แก่
    ฉบับที่ 1 แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านปางอ้อย ฉบับที่ 2 แบบประเมินผลและรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ฉบับที่ 3 แบบประเมินผลสำเร็จโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านทักษะการทำงานและทักษะอาชีพ ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลสำเร็จโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน
ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง

     สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปเป็นบรรยายความเรียงประกอบตาราง
     ผลการรายงานพบว่าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านปางอ้อยโดยการนำหลักกระบวนการบริหารเชิงคุณภาพ (PDCA)
    ด้านการวางแผน (Plan) พบว่า คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รู้ และเข้าใจถึงเป้าหมาย ในการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเป็นอย่างดี ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานโครงการในทุกกิจกรรมอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล จนนำไปสู่ความสำเร็จ ของโครงการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการทุกฝ่ายเกิดความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านปางอ้อย
    ด้านการนำแผนไปปฏิบัติ (Do) พบว่า ในการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนในระดับดีมาก สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการนั้นเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดทุกกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 98 และการใช้งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม ส่วนใหญ่มีการใช้จ่ายงบประมาณตามที่กำหนดไว้
    ด้านการติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Check) พบว่า ทุกกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนในระดับดีมาก ระยะเวลาที่ใช้และการใช้งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมในภาพรวมส่วนใหญ่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ทุกกิจกรรม
    ด้านการแก้ไขปรับปรุงงาน (Act) พบว่า การดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านปางอ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทุกกิจกรรมและถ้าเกิดปัญหาในขณะปฏิบัติงานจะได้รับการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมทันที ทำให้เกิด การแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จนส่งผลให้การปฏิบัติงานสำเร็จบรรลุเป้าหมายทุกกิจกรรม
    ผลการประเมินผลสำเร็จโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านปางอ้อยพบว่า
    ผลสำเร็จของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมมีความสำเร็จในระดับมากที่สุด ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน มีความสำเร็จในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และด้านทักษะการทำงานและอาชีพ มีความสำเร็จในระดับมาก ตามลำดับ
    ผลสำเร็จด้านทักษะการทำงานและอาชีพ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าผู้เรียนมีทักษะการทำงานและอาชีพในระดับมากที่สุด สูงสุด 3 อันดับแรก คือ ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานการปลูกผักปลอดสารพิษ และผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รองลงมา คือ ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานการเลี้ยงปลา และผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ
    ผลสำเร็จด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความซื่อสัตย์สุจริต มีค่าเฉลี่ยรวมสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านวินัย ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน และด้านความมีจิตสาธารณะ ตามลำดับ
    ด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ พบว่า ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการและมีความต้องการที่จะให้โรงเรียนดำเนินโครงการและกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพกับผู้เรียนอย่างแท้จริงโรงเรียนควรจะประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน และดำเนินการกิจกรรมร่วมกัน บุคคลากรในโรงเรียนควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพโดยการศึกษาดูงานเพื่อนำประสบการณ์จากสถานศึกษาต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่ครบวงจร มาปรับประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อีกทั้งภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมกันระดมทรัพยากรจากท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆมาร่วมพัฒนาสร้างศักยภาพให้ดียิ่งขึ้น
    โรงเรียนควรมีกิจกรรมการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรครู และนักเรียนที่ปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งกระตุ้นให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของกิจกรรมโครงการตามแนวพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดการพัฒนาและนำเอาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริงต่อไป
dedayhome 06 มิ.ย. 2560 เวลา 11:19 น. 0 619
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^