LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้

usericon

ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายเสรี แก้วเขียวงาม ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
     โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปี 2559

     บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2). เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 120 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ เทคนิคระดมสมอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ด้านบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent)
    การดำเนินการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอนคือขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research ) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) เป็นการสร้างและพัฒนาหาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดโครงร่างของรูปแบบ ซึ่งสาระสำคัญของรูปแบบประกอบ ด้วย 1) ความเป็นมา 2) แนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการและจุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้แล้วให้เพื่อนครูและผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคีมีความพร้อมของบริบทโรงเรียนในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏี การสร้าความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง และดูอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการของนักเรียนและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการ เรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยภาพรวมพบว่านักเรียนมีความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีการสร้าความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ตามความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 2). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมองเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 83.29 /86.75 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 35 คน พบว่าประสิทธิภาพรูปแบบเท่ากับ 82.68 /82.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 4) เพื่อการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่ง และหลังเรียนกับเกณฑ์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 และ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
เสรี 22 มี.ค. 2560 เวลา 22:19 น. 0 641
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^