LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ

usericon

ชื่อเรื่อง    รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
ผู้วิจัย    นายเอี่ยมสกุล หมุนลี
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา    2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน 2) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน 3) การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมประสิทธิภาพทางการเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน นำข้อมูลที่ได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหาการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนมายกร่างเป็นร่างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโดยจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบประกอบร่างรูปแบบ และนำเสนอร่างรูปแบบที่จัดทำต่อผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองเครือข่าย ตัวแทนนักเรียน เพื่อตรวจสอบความตรงและ ความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใช้การจัดประชาพิจารณ์ (Public Hearing) เพื่อให้ผู้เข้าร่วม ประชาพิจารณ์แสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนในข้อประเด็นต่าง ๆอย่างละเอียด จากนั้นปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนและคู่มือการใช้ตามข้อเสนอแนะ
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ดังนี้
2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ พร้อมกำหนด
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ จำนวน 16 คนทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน
2.2 จัดประชุมชี้แจงคณะกรรมการ เพื่อให้สามารถนำคู่มือไปปฏิบัติตามแผนการทดลอง
2.3 ดำเนินการทดลองตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียน
เทศบาลท่าอิฐ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
2.4 สรุปผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน และจัด
ประชุมสนทนากลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อค้นพบที่ได้จากการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำรูปแบบไปใช้
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ผู้วิจัยดำเนินการประเมิน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ได้แก่ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน

สรุปผลการวิจัย
1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่
1.1 กลยุทธ์ 1 : การพัฒนาศักยภาพครู เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัด
ทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ด้วยกระบวนการวิจัยและความสามารถในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
1.2 กลยุทธ์ 2 : การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เป็นการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการ
สอนที่หลากหลาย เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบด้วย
1.3 กลยุทธ์ 3 : การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูมีการ
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายและเหมาะสม เพื่อนำมาใช้ใน การเรียนการสอน และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างรอบรู้ ประกอบด้วย
1.4 กลยุทธ์ 4 : การส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา เป็นการเปิดโอกาส
ให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน การสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ วิทยากรท้องถิ่นเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนาศักยภาพครู พบว่า ครูได้รับการพัฒนาตนเองมีการพัฒนาแผนการจัดการ
เรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน สามารถออกแบบกิจกรรมได้หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียนและนักเรียน มีการใช้กระบวนการกลุ่ม จัดกิจกรรมการใช้ความคิด อภิปราย การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังพบว่า ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
มากขึ้น ในส่วนของการทำวิจัยในชั้นเรียนครูมี ความกระตือรือร้น สนใจ แสวงหาความรู้ และสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ทุกคน
2.2 ผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่า มีผลงานการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากการที่
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ทำให้นักเรียนเป็นนักแสวงหาความรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การเรียนรู้แบบโครงงาน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่ บุคคลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเพื่อน ครู วิทยากร อินเทอร์เน็ต และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนเป็นผู้รับความรู้ที่ดี
2.3 ผลการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ พบว่า ครูมีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
และนำสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาห้องสมุด มีชีวิต ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ทั้งด้านเอกสาร สิ่งพิมพ์ สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน จำนวน 30 เครื่อง ด้วยระบบ Wireless LAN และมีการจัดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพิมพ์งาน และสืบค้นข้อมูลให้นักเรียนในห้องสมุดโรงเรียน
2.4 ผลการส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมใน
การจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองภาคเรียนละ 2 ครั้ง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหาของนักเรียน โดยให้ผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยกับครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ในชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษาและเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และบุคลากรของโรงเรียนโรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลแก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
2.5 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 และจะเห็นได้ว่า ร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ย 3.41
คิดเป็นร้อยละ 85.25 รองลงมาได้แก่ สาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย 3.15

คิดเป็นร้อยละ 78.75 ส่วนสาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ย 2.85 คิดเป็นร้อยละ 71.25
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกรองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


usernamegu 20 มี.ค. 2560 เวลา 10:26 น. 0 866
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^