LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 3 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 4 23 เม.ย. 2567สพม.บุรีรัมย์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.บุรีรัมย์ 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 3 23 เม.ย. 2567สพป.พะเยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พะเยา เขต 1 23 เม.ย. 2567สพป.สระแก้ว เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 2 23 เม.ย. 2567สพป.นครปฐม เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครปฐม เขต 2

รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียน โ

usericon

รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียน 			โ

ชื่อผลงาน     :     รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model
โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556
ผู้รายงาน          :     นายสุรศักดิ์ เกลี้ยงสะอาด
     รองผู้อำนวยการโรงเรียนควนเนียงวิทยา
ปีที่รายงาน     :     ปีการศึกษา 2556

บทสรุป
    
     รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้ กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการดำเนินงานแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียน 2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียน 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 297 คน ครูผู้สอน จำนวน 59 คน ผู้ปกครอง จำนวน 297 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.951 – 0.979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1.    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีความคิดเห็นว่าด้านบริบทของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.65, S.D. = .64 ) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และรองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าบริบทของโครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = .76 ) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2.    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.59, S.D. = .70) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า ด้าน หน่วยงานที่สนับสนุนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.66, S.D. = .66 ) รองลงมา ได้แก่ ด้านวัสุดอุปกรณ์และอาคารสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.58, S.D. = .70 ) ส่วนด้านการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.55, S.D. = .71 ) ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นว่าด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = .73 ) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นว่าด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = .71 )ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.56, S.D. = .69 ) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 จำแนกเป็น
4.1     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู และกลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.55, S.D. = .69, .73 ) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินงานแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.54, S.D. = .76 ) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( = 4.58, S.D. = .72 ) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มครู และกลุ่มผู้ปกครองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ( ค่าเฉลี่ย = 4.53, S.D. = .68, .69 )ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
4.3    ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนควนเนียงวิทยา โดยภาพรวมปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2555 ร้อยละ 6.70 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน และ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET ) ปีการศึกษา 2555-2556 พบว่า ค่าเฉลี่ย ปีการศึกษา 2556 สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ระดับชั้น ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
4.4    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส โดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส โดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.68, S.D. = .63 ) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส โดยใช้ กลยุทธ์ SCoRE Model โรงเรียนควนเนียงวิทยา ปีการศึกษา 2556 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม (ค่าเฉลี่ย = 4.57, S.D. = .59 )ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.52, S.D. = .68 ) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน

ข้อเสนอแนะ
            ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.    โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ SCoRE Model ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.    ควรนำขั้นตอนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ SCoRE Model ให้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่มีปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียน และมีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนควนเนียงวิทยา เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
3.    ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
            ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
            1.ควรมีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคและรูปแบบอื่นๆ
        2.ควรศึกษาปัจจัยหรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการติด 0 ร มส ของนักเรียน




surasak01 19 ก.ค. 2557 เวลา 22:47 น. 0 1,561
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^