LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศ

usericon

รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศ
บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2556 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงานและประเมินผลผลิตของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยวิธีการประเมิน 3 ลักษณะคือ 1) การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น 2) การประเมินโดยหน่วยงานต้นสังกัด (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16) และ 3) การประเมินโดยใช้แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 294 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2556 จำนวน 52 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 จำนวน 294 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 13 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.84-0.93 แบบบันทึกผลการประเมินสถานศึกษาพอเพียง ต้นแบบ ปีการศึกษา 2556 โดยหน่วยงานต้นสังกัดและแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2556 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 11.5 ผลการประเมินพบว่า
    1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = .10) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมาก ( = 4.21, S.D. = .17) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = .35) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.38, S.D. = .46) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดบุคลากร ( = 4.33, S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.23, S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = .23) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = .14) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = .17) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
        4.1 คุณภาพการขับเคลื่อนการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่ากลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = .12) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = .15) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D. = .20) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.2 ความสามารถในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.42, S.D. = .18) มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = .14) ได้คะแนนเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3 คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ คุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา คุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน คุณภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ พบว่า ทุกด้านมีคุณภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับดี-ดีมาก ได้คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.85-4.00 เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ มีระดับคุณภาพการปฏิบัติสูงสุด คะแนนเฉลี่ย 4.00 รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา คะแนนเฉลี่ย 3.94 ส่วนด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้คะแนนเฉลี่ย 3.85 มีคะแนนเฉลี่ยระดับคุณภาพการปฏิบัติต่ำสุด ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ได้คะแนน 17 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.4 คุณภาพของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 69.37 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET : Ordinary National Education Testing) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีการศึกษา 2556 พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวม ปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 41.64 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.92 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม ปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.16 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 36.49 ปีการศึกษา 2556 ระดับชั้น ม.6 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2555 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.5 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.42, S.D. = .20) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.39, S.D. = .19) มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = .14) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        สรุปภาพรวมทั้ง 4 ด้าน 15 ตัวชี้วัดหลัก ค่าน้ำหนัก 100% ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 15 ตัวชี้วัด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ จากผลการประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้น ในการจัดทำโครงการโรงเรียน ควรชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจในวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการให้ชัดเจน
2. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการวางแผน การดำเนินกิจกรรม การติดตามและประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายในการพัฒนาบุคลากร เช่น การประชุม อบรมสัมมนา จัดกิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมถอดประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประเมินผลเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเผยแพร่สู่ชุมชน ร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม เคารพเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
4. กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยประยุกต์ทฤษฎีการประเมินอื่นๆ มาใช้ในการประเมินโครงการ เช่น การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์ และสำหรับสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบแล้ว ควรรักษาสภาพ/พัฒนาให้เห็นถึงความก้าวหน้า สู่ความยั่งยืนต่อไป
2. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
yee242 06 ก.ค. 2557 เวลา 00:11 น. 0 895
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^