LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินผลการดำเนินการ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน ประจำปีการศึกษา 2555 ได้นำรูปแบบของการประเมินแบบซิปป์(CIPP model) เป็นรูปแบบในการประเมินโครงการและกิจกรรม ซึ่งเป็นการประเมินคุณภาพของโครงการโดยผู้รายงาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตของครู บุคลากรและนักเรียน ดังนี้
1.1 ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวมทั้งสี่ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ครู บุคลากร ที่รับผิดชอบโครงการ และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เข้าใจในการผลิต ผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
ด้านบริบท ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โครงการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)และแผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แต่จะต้องปรับปรุงพัฒนาด้านสถานที่ ห้องปฏิบัติการ แปลงสาธิตเพื่อการจัดกิจกรรมให้มีความเหาะสมมากขึ้น
ด้านปัจจัย ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้เหมาะสมกับผู้เรียนและเพียงพอ แต่จะขาดงบประมาณที่สนับสนุน
ด้านกระบวนการ ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่าโครงการ มีกระบวนปฏิบัติอย่างเป็นระบบ มีการสรุปและประเมินผลการดำเนินงานทุกระยะเกิดประสิทธิภาพต่อโครงการ แต่ควรนำผลการประเมินไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาโครงการจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.2 ผลการประเมินการจัดกิจกรรม ที่ดำเนินการตาม โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน โดยภาพรวม 5 กิจกรรม ครู บุคลากรมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด และนักเรียนระดับมาก และมีความเห็นตรงกัน คือ การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก เป็นกิจกรรมที่เด่นที่สุด ส่วนกิจกรรมที่ต้องปรับปรุงพัฒนา คือ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
กิจกรรมที่ 1 การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ผู้เรียนสามารถเก็บรักษา การซ่อมแซมเครื่องมือการเกษตรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยตามหลักวิชาการ และ ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ครู บุคลากรผู้รับผิดชอบกิจกรรมการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย จัดการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศน่าสนใจ น่าเรียนน่าศึกษา แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ การเตรียมบ่อ การให้อาหาร การป้องกันรักษาและการรักษาคุณภาพน้ำ
กิจกรรมที่ 2 การเลี้ยงกบ โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ได้รับความรู้ หลักการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และมีวิธีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโครงการ และกิจกรรม แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ จัดหาครูและบุคลากรผู้รับผิดชอบกิจกรรมการเลี้ยงกบ ที่มีความรู้ความสามารถจัดการเรียนรู้ให้ครบองค์รวมเต็มศักยภาพ และจัดตั้งหรือรวมกลุ่มนักเรียนให้สามารถทำงานในฐานะผู้นำ สมาชิกกลุ่ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม
กิจกรรมที่ 3 การปลูกพืชผักสวนครัว โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและลงมือปฏิบัติจริง แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ สถานที่ ที่ใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ควรจัดให้มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ตามลักษณะของกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้จริง ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูล ที่จะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมีเพียงพอ แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องจัดให้สะอาด ปลอดภัย บรรยากาศน่าเรียน และนักเรียนสามารถผลิตและประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทั้งแบบแห้งและแบบน้ำได้และสร้างความตระหนักในการรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ 5 การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก โดยภาพรวม ครู บุคลากรและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเฉพาะครู บุคลากรมีความคิดเห็นว่า เอกสาร คู่มือ วารสาร หนังสือเรียน ใบความรู้ ข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติหรือทบทวนความรู้เพิ่มเติมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชัดเจน สามารถนำไปสู่การฝึกปฏิบัติได้ ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม มีคุณค่า น่าสนใจ แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีการสอดแทรกคุณธรรมควบคู่กับการฝึกปฏิบัติและควรส่งเสริมเป็นอาชีพต่อไป
1.3 ด้านผลผลิต ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่าครู
บุคลากรมีความรู้และให้ความสำคัญในการพัฒนากิจกรรม ตามโครงการอย่างดียิ่ง นักเรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านการเกษตรตามกิจกรรมกำหนด แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าและประหยัด รายละเอียด ดังนี้
1.3.1 ครู บุคลากรมีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ร้อยละ82.35 การพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 30.06 และคะแนนทดสอบ วัดองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรมของครู บุคลากรทดสอบหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา
1.3.2 นักเรียนมีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ร้อยละ82.26 การพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 33.38 คะแนนทดสอบวัดองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรมของนักเรียน คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
1.3.3 ความพึงพอใจของครู บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการโครงการ เฉลี่ยระดับมากที่สุด เพราะโครงการมีรูปแบบการปฏิบัติงานเป็นกลุ่มบุคคล การมอบหมายงานเป็นคำสั่งและมีปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครู บุคลากรและนักเรียนการเข้าร่วมโครงการมีความภาคภูมิใจ เกิดความรัก ศรัทธาในอาชีพการเกษตร เห็นคุณค่าในภูมิปัญญาไทย เพราะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นตรงกับความต้องการของผู้เรียน น่าสนใจ มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน โครงการให้รับทราบและโรงเรียนได้เชิญให้ ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรมในโครงการ แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ ด้านสถานที่จัดกิจกรรม เน้นเรื่องสะอาด ร่มรื่น ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โรงเรียนควรนำเรื่องเทคโนโลยีชาวบ้านหรือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในท้องถิ่น มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. การสังเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้สังเคราะห์ข้อเสนอในองค์ประกอบของแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการและรายกิจกรรม เพื่อการพัฒนาโครงการและกิจกรรม ดังนี้
2.1 ควรมีการระดมทรัพยากรสนับสนุนโครงการจากทุกภาคส่วน    
2.2 จัดเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระการเรียนรู้งานเกษตร ด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ
     2.3 บ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกบควรทำเป็นบ่อถาวร
2.4 ด้านสถานที่จัดกิจกรรมแปลงเกษตรไม่เพียงพอควรจัดเพิ่มเติม
2.5 โรงเรียนควรนำเรื่องเทคโนโลยีชาวบ้าน หรือเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในท้องถิ่น มาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ผลสรุปแบบบันทึกต่าง ๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และผลผลิตพร้อมผู้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรมตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน
ผู้รายงานนำเสนอตามลำดับ ดังนี้
3.1 แบบบันทึกเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงาน ใช้บันทึกจำนวนหรือผลผลิต และรายได้ตามลักษณะในแต่ละกิจกรรม จำนวน 5 ชุด
3.1.1 การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ปีการศึกษา 2555 เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย 4 ครั้ง/ปี ครั้งละ2,000 ตัว ค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิต 3,655 บาท/บ่อ จำหน่ายผลผลิต 5,220 บาท/บ่อ กำไร 1,545 บาท/บ่อ รวมทั้ง 4 บ่อ เป็นเงิน 6,180 บาท
3.1.2 การเลี้ยงกบ ปีการศึกษา 2555 เลี้ยงกบ 2 ครั้ง/ปี ครั้งละ400 ตัว ค่าใช้จ่ายต้นทุน การผลิต 830 บาท/บ่อ จำหน่ายผลผลิต 1,280 บาท/บ่อ กำไร 450 บาท/บ่อ รวมทั้ง 4 บ่อ เป็นเงิน 1,800 บาท
3.1.3 การปลูกพืชผักสวนครัว ภาคเรียนที่ 2 มีพื้นที่ใช้ปลูกผัก 260 ตารางเมตร แปลงผักจำนวน 64 แปลง รวมผลผลิตทั้งหมด 640 กิโลกรัม รวมมูลค่าผลผลิต 3,240 บาท ผลิตผลมอบให้โครงการอาหารกลางวัน 300 กิโลกรัม จำหน่าย – รอจำหน่าย บริโภคและประชาสัมพันธ์ รวมมูลค่าสุดท้ายของเป้าหมาย มูลค่าผลผลิต 5,240 บาท
    3.1.4 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ พื้นที่ใช้กองปุ๋ยหรือโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ( ขนาด 3 x 3 เมตร จำนวน 3 บอล์ค) 27 ตารางเมตร จำนวนปุ๋ยที่ผลิตได้ทั้งหมด จำนวน 450 กิโลกรัม รวมมูลค่าสุดท้ายของเป้าหมาย มูลค่าผลผลิต 2250 บาท
3.1.5 การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก น้ำข้าวกล้องงอก ผลิตสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ120 ขวด จำนวนขวดที่ผลิตได้ทั้งหมด 1200 ขวดและ ข้าวกล้อง ผลิต เดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละ 30 ถุง ๆ ละ1 กิโลกรัม ตลอดปีการศึกษา รวมมูลค่าผลผลิตน้ำข้าวกล้องงอกและข้าวกล้อง 19,000 บาท ต้นทุนการผลิต 6000 บาท รวมมูลค่าสุดท้ายของเป้าหมาย มูลค่าผลผลิต 13,000 บาท
3.2 แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคลและกลุ่ม
ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคลทั้ง 5 กิจกรรม ตามโครงการโดยภาพรวมคุณภาพระดับดีมาก รายกิจกรรม คุณภาพระดับดีมากทุกกิจกรรม ส่วนพฤติกรรมกลุ่ม ภาพรวมคุณภาพระดับดีมาก
รายกิจกรรม พบว่า นักเรียนชอบกิจกรรมการผลิตน้ำข้าวกล้องงอกเป็นพิเศษ
3.3 แบบบันทึกการรับประทานอาหารกลางวันนักเรียนชั้นอนุบาล 1– 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 สรุป นักเรียนรับประทานอาหารกลางวัน ร้อยละ 99.17 ซึ่งได้รับการสนับสนุนวัตถุดิบจากโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน
3.4 แบบบันทึกน้ำหนักและวัดส่วนสูง สรุปภาวะทุพโภชนาการนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อต้นปีการศึกษา 2555 นักเรียนมีน้ำหนัก และส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์กรมอนามัยรวม 56 คน คิดเป็นร้อยละ 26.29 และเมื่อสิ้นต้นปีการศึกษา 2555 นักเรียนมีน้ำหนัก และส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์กรมอนามัยรวม 00 คน คิดเป็นร้อยละ 00.00 แสดงว่านักเรียนนักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
จากการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน เมื่อพิจารณาจากผลการประเมินเกิดผลสะท้อนเชิงประจักษ์หลายอย่าง ทั้งจุดเด่นและจุดที่ควรปรับปรุงพัฒนา ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการส่งผลแก่ นักเรียน ครู บุคลากร ผู้บริหาร สถานศึกษาและผู้ปกครอง ชุมชน ผู้รายงานจึงสรุปพอสังเขป ดังนี้
1. จุดเด่นการจัดกิจกรรมจากการประเมินคุณภาพโครงการของครูผู้รับผิดชอบโครงการ และนักเรียนที่ร่วมโครงการ ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยโดยรวมระดับมากที่สุด และการประเมินคุณภาพรายกิจกรรม ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ย ระดับมากที่สุด 4 กิจกรรม โดยเฉพาะ
“ การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก ” ส่วนที่ควรปรับปรุงพัฒนาพบว่า ด้านงบประมาณสนับสนุน สถานที่ ที่ใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ควรจัดให้มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ตามลักษณะของกิจกรรมและสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
2. ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน ดังนี้
2.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน จากปีการศึกษา 2554 - 2555 เป็นต้นมาโรงเรียนบ้านพอกโนนหนองผือคำไผ่ใต้ ได้จัดอาหารกลางวันให้เด็กรับประทานครบทุกคนทุกวัน ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน โดยเฉลี่ย ลดลงคิดเป็นร้อยละ 00.00 ตามลำดับ ปัจจุบันโรงเรียนปลอดเด็กขาดสารอาหาร และนักเรียนที่ร่วมโครงการได้รับความรู้และมีความรู้ทักษะการปฏิบัติ ประสบการณ์และรู้จักแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ด้านการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำปุ๋ยหมักชีวะภาพ การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก และการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นทักษะประกอบอาชีพในอนาคตได้ (น.ส.สุดารัตน์ คุณรักษ์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นยุวเกษตรกรดีเด่น)
2.2 ผลที่เกิดกับครู บุคลากร ครูมีความตระหนัก มีความรู้ในการสร้างนวัตกรรม การสร้างแหล่งเรียนรู้ เกิดองค์ความรู้ใหม่มีองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม เรียนรู้วิธีจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวตนเอง และสร้างเครือข่ายในเครือญาติและเพื่อนบ้านใกล้เคียง และบุคลากรได้นำองค์ความรู้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมไปจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ และประกวดผลงานเด่น ได้แก่
นางวรรณภา วิริยะพันธ์ ทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ เรื่อง การผลิตนำข้าวกล้องงอก
นางวิภาวรรณ สุขสงสาร ได้รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS)ประจำปี 2555 ครั้งที่ 2 ประเภท ครูผู้สอนยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนยอดเยี่ยม เรื่อง การผลิตน้ำข้าวกล้องงอก ได้รับรางวัล เหรียญทอง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกวดที่จังหวัดชัยภูมิ
2.3 ผลที่เกิดกับผู้บริหารและสถานศึกษา นายธนู ว่องไวตระxxxล ผู้อำนวยการโรงเรียนได้เสนอขอรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS) ประจำปี 2555 ครั้งที่ 2 ระดับชาติ ประเภท ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนยอดเยี่ยม เรื่อง คู่มือการจัดกิจกรรมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืนได้รางวัล เหรียญเงิน ระดับชาติ ประกวดระหว่างวันที่ 13 –15 กุมภาพันธ์ 2556 ณ เมืองทองธานี
ด้านสถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์น้ำ ให้นักเรียน ครูได้ศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้และจัดกระบวนการเรียนการสอน เป็นแหล่งอาหารให้กับโครงการอาหารกลางวัน และช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โรงเรียนและได้รับรางวัล ดังนี้
- ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดนิทรรศการ “ ถนนคนเรียน ”งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ครั้งที่ 62 ระหว่างวันที่ 6 – 9 ธันวาคม 2555 ณ จังหวัดชัยภูมิ
- ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดนิทรรศการ“ มหกรรมวิชาการสืบสานวิถีไทย ก้าวไกลสู่อาเชียน ” ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 19–20 ธันวาคม 2555 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2
- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทสถานศึกษายุวเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร ( อ.ทวี มีข้อมูล )
2.3 ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง ชุมชน จากการเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2555 มีบ่อปลาทุกครอบครัว มีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 3 แห่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะในหมู่บ้านเขตบริการของโรงเรียน ผู้ปกครองร้อยละ 97.05 ประกอบอาชีพการเกษตรจึงมีความตื่นตัวในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรแบบผสมผสานมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือน และอาจจะเป็นเพราะนักเรียนได้เรียนรู้ในกิจกรรมการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์น้ำ เกิดความรักในอาชีพการเกษตรจึงนำไปขยายผลและสร้างเครือข่ายต่อให้ผู้ปกครอง และญาติ ๆ
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน แบบยั่งยืน โรงเรียนได้จัดทำแผ่นพับ หนังสือประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ จัดทำซีดีเผยแพร่ให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2 สถานศึกษา หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ ได้รับทราบ
3. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประเมิน ควรมีการประสานงาน โครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ไม่ควรเปลี่ยนผู้รับผิดชอบโครงการและไม่ควรเน้นเรื่องการประเมินอย่างเดียว ควรให้ความสำคัญในเรื่องการนิเทศ ช่วยเหลือสนับสนุน
การนำผลการประเมินไปใช้ หากนำรูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ควรเลือกใช้กิจกรรมที่มีความเหมาะสมในด้านปัจจัยการผลิต เช่น โรงเรียนมีครูวิชาเอกสาขาเกษตร พื้นที่เพียงพอ แหล่งน้ำ และความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง เป็นต้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกิจกรรมต่าง ๆ ควรมีการประเมินพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ของนักเรียนควบคู่กันไป โดยใช้วิธีสังเกต สอบถาม หรือสร้างแบบประเมินโดยให้นักเรียนประเมินพฤติกรรมซึ่งกันและกัน เครื่องมือในการประเมินครั้งนี้ มีหลากหลาย และครอบคลุม มีการสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐานสามารถใช้ในงานครั้งต่อไป หรืออาจปรับปรุงใช้ในงานลักษณะเดียวกัน
การประเมินครั้งต่อไป ควรประเมินคุณภาพบริหารจัดการโครงการ การจัดกิจกรรมด้านการเกษตร ควบคู่กับประเมิน การพัฒนาพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน































vuttikrai 17 พ.ค. 2557 เวลา 16:53 น. 0 1,143
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^