LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพม.เพชรบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD

usericon

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD
ชื่อเรื่อง     การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD
        เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit)
        สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย        นายเสนอ เท่าเทียม
สถานศึกษา     โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ปีที่วิจัย        ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555

บทคัดย่อ

    การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit)
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 41 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 และชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22 - 0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.83 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.44 – 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (Dependent Samples)

    ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
        1. ชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 78.92/77.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
        2. ชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.58 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 58
        3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) หลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.73) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 2 ชุดฝึกปฏิบัติ
โดยใช้เทคนิค STAD ทำให้นักเรียนเข้าใจในการเรียนภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.63, S.D. = 0.55) รองลงมาคือ ด้านที่ 8 การเล่นละคร Skit ทำให้นักเรียนมีทักษะภาษา อังกฤษที่ดีขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.70) รองลงมาคือ ด้านที่ 1 นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51,
S.D. = 0.78) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 7 เนื้อหาในเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.84)

    สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นสื่อการจัด
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน เหมาะสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม ซึ่งนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันมาเรียนรู้หรือทำงานร่วมกัน ดังนั้นควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูสาระการเรียนรู้อื่น ๆ หรือระดับชั้นอื่น ๆ นำไปเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ
เจตคติ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามเจตนารมณ์
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต่อไป
21 เม.ย. 2557 เวลา 09:04 น. 0 1,056
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^