LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานประิเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนช

usericon

[center][/center]บทคัดย่อ

    การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนช่องแคพิทยาคมใน 4 ประเด็นคือ ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation ) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 20 คน กลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 149 คน และนักเรียน จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 12 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามด้านบริบท 1 ฉบับ ด้านปัจจัยนำเข้า 1 ฉบับ
ด้านกระบวนการ 1 ฉบับ ด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพของห้องสมุด นิสัยรักการอ่านของนักเรียนและความพึงพอใจของ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง 6 ฉบับ แต่ละฉบับมีค่าความเที่ยง ดังนี้ แบบสอบถามด้านบริบท เท่ากับ 0.91 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า เท่ากับ 0.90 แบบสอบถามด้านกระบวนการ เท่ากับ 0.89 แบบสอบถามด้านคุณภาพของห้องสมุด เท่ากับ 0.88 แบบสอบถามนิสัยรักการอ่านตามคิดเห็นของผู้ปกครอง เท่ากับ 0.91 แบบสอบถามนิสัยรักการอ่านตามคิดเห็นของนักเรียน เท่ากับ 0.82 แบบสอบถามด้านความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เท่ากับ 0.94 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง เท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เท่ากับ 0.93 และ แบบทดสอบความสามารถในการอ่าน ของนักเรียน จำนวน 2 ฉบับ แบบบันทึกข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้การทดสอบค่าที (t – test dependent)


สรุปผลการประเมิน
    ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนช่องแคพิทยาคม ในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น สามารถสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
    2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการ โดยการประเมิน พบว่า
ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก โดย ด้านความพร้อมของบุคลากร และ
ความพอเพียงของวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน และความพอเพียงของงบประมาณผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
    3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินงานโครงการโดยรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก โดยด้านการวางแผนดำเนินงาน การพัฒนาห้องสมุด การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการสนับสนุน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงานกิจกรรมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
    4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการโดยรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก โดยทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากได้แก่ คุณภาพของห้องสมุด นิสัยรักการอ่านของนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียน และค่าเฉลี่ยความสามารถในการอ่านของนักเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ หลังการดำเนินโครงการ นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการอ่านสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างชัดเจน
pheeraput 25 ก.พ. 2557 เวลา 15:31 น. 0 1,030
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^