LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
ชื่อผู้วิจัย    นิเวศน์ อุดมรัตน์
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
หน่วยงาน    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่วิจัย    2555 - 2557

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีจุดมุ่งหมายทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ 4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาการดำเนินการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการปฏิบัติ และปัญหาในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา จากผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 127 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาด้วยวิธีการการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทดลองใช้ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำนวน 72 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2555 ถึงปีการศึกษา 2557 ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล และมี
การประเมินผลที่เกิดจากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา จำนวน 3 วงรอบ เพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนและขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาด้วยวิธีการจัดประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) กับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนที่โรงเรียนเป็นกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา จำนวน 36 คน

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. สภาพการปฏิบัติการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับน้อยและมีปัญหาการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ทั้งโดยรวมและแต่ละระบบ อยู่ในระดับมาก
    2. รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ประกอบด้วย 3 ระบบหลัก 8 ระบบย่อย ดังนี้ 1. ระบบการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบการประสานงานระบบการนิเทศและระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2. ระบบงานวิชาการ ประกอบด้วย 4 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการเรียนการ สอนระบบการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และระบบนิเทศการเรียนการสอน 3. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    3.    ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ในโรงเรียนจำนวน 36 แห่งที่เป็น
กลุ่มทดลอง จำนวน 3 วงรอบ พบว่า
        3.1     ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ครูวิชาการ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการ ตามรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ในปีการศึกษา 2555-2556 และอยู่ในระดับมากที่สุดในปีการศึกษา 2557
        3.2     ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาปีการศึกษา 2555-2557 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี คิดเป็นร้อยละ 44.48, 46.75 และ 50.33 ตามลำดับ
        3.3    การประเมินสมรรถนะสำคัญทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2555-2557 เพิ่มขึ้นทุกปี มีค่าเฉลี่ย 2.17, 2.43 และ 2.83 ตามลำดับ
    4.    ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 พบว่า ส่วนใหญ่มีความเห็นต่อรูปแบบ
การบริหารจัดการในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
sujimanut 18 มี.ค. 2559 เวลา 12:17 น. 0 627
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^