LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ขอนแก่น - ผลย้ายครู 2567 สพม.ขอนแก่น 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่

แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) วิชาเคมีเพิ่มเติม 1 (ว30221)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4เรื่อง พันธะเคมี
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พันธะเคมี                    เวลา 20 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์                เวลา 2 ชั่วโมง
ใช้สอนในวันที่.........เดือน...................................พ.ศ. ...........................
......................................................................................................................................................................
มาตรฐาน
ว3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ผลการเรียนรู้    ทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ได้
สาระสำคัญ
    รูปร่างโมเลกุล คือการจัดอะตอมต่างๆแบบสามมิติในโมเลกุลโคเวเลนต์ รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์มีความสัมพันธ์ต่อสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารนั้น โมเลกุลที่มีรูปร่างต่างกันมีการจัดเรียงอะตอมที่ทำให้มุมพันธะและความยาวพันธะต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเป็นรูปร่างโมเลกุลคืออะตอมกลาง
    การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์พิจารณาจากจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะรอบอะตอมกลางและจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง
จุดประสงค์
    1. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางได้
    2. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางได้
    3. มุ่งมั่นในการทำงาน
สาระการเรียนรู้
    รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สิ่งที่ใช้บอกรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์คือ การจัดเวเลนต์อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางของธาตุในโมเลกุลโคเวเลนต์ นอกจากนั้นความยาวพันธะและมุมระหว่างพันธะยังสามารถบอกรูปร่างโมเลกุลได้ด้วย ในการทำนายรูปร่างโมเลกุลให้เลือกอะตอมกลางซึ่งเป็นอะตอมที่สร้างพันธะได้มากที่สุดก่อนและนับจำนวนพันธะที่อะตอมกลางสร้างได้ และจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว รอบอะตอมกลางนั้น แรงผลักทั้งหมดของคู่อิเล็กตรอนที่เกิดจากการสร้างพันธะและไม่ได้สร้างพันธะจะทำให้รูปร่างโมเลกุลแตกต่างกันดังนี้
    1. โมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ได้แก่
1.1 รูปร่างเส้นตรง มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ 2 พันธะรอบอะตอมกลางและมีมุมระหว่างพันธะ 180 •
1.2 รูปร่างสามเหลี่ยมแบนราบมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ 3 พันธะรอบอะตอมกลางโดยมุมพันธะเป็น 120 •
        1.3 รูปร่างทรงสี่หน้า มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ 4 พันธะ โดยมุมพันธะเป็น 109.5 •
        1.4 รูปร่างพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ 5 พันธะโดยมีมุมพันธะ 120 • และ 90 •
        1.5 รูปร่างทรงแปดหน้ามีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ6คู่ 6 พันธะโดยมีมุมพันธะ 90 •
    2. โมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวได้แก่
        2.1 รูปร่างมุมงอหรือตัววี มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ โดยทำมุมเล็กกว่า 109.5 • แต่ถ้ามีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ จะทำให้อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะมีมุมพันธะน้อยกว่า 120 • แต่มากกว่า 109.5 •
        2.2 รูปร่างพีระมิดฐานสามเหลี่ยม มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ 3 พันธะ และมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ ทำมุมพันธะน้อยกว่า 109.5 •
        2.3 รูปร่างเส้นตรง มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 3 คู่
        2.4 รูปร่างพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมมีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่
        2.5 รูปร่างสี่เหลี่ยมแบนราบ มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ มุมพันธะ 90 •
        2.6 รูปร่างตัวที มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ มุมพันธะ 90 •
        2.7 รูปร่างทรงสี่หน้าบิดเบี้ยว มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ใช้รูปแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น)
    1. ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation Phase)
        1.1 นักเรียนสังเกตแผนภาพแสดงโครงสร้างแบบจุดของโมเลกุลโคเวเลนต์ BF3 และ CH4 แล้วครูตั้งประเด็นคำถามดังนี้
        - สูตรโครงสร้างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่เห็นมีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะกี่คู่ กี่พันธะ (3 คู่ 3 พันธะ)
        - ถ้าเทียบสูตรโครงสร้างดังกล่าวมีรูปร่างแบบมีมิติ นักเรียนสามารถระบุได้หรือไม่ว่าควรมีรูปร่างแบบใด (รูปทรงทางเรขาคณิตคือรูปร่างสามเหลี่ยนแบนราบ รูปร่างทรงสี่หน้า)
        1.2 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปราย แนวคิด คำตอบ เพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิมไปสู่ความรู้เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
    2. ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement Phase )
        2.1 ครูนำแผนภาพสูตรโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลโคเวเลนต์ต่อไปนี้
BCl3         CH4         PCl5
นำมาติดไว้บนกระดาน ครูตั้งคำถามกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดดังนี้
        - จากแผนภาพบนกระดานถ้าเปรียบเทียบกับรูปทรงเรขาคณิตทางคณิตศาสตร์ นักเรียนคิดว่าโมเลกุลดังกล่าวน่าจะมีรูปร่างแบบใด
        2.2 อาสาสมัครนักเรียนจำนวน 3 คนออกมาหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งแสดงแนวคำตอบรูปร่างโมเลกุลของสารตามรูปทรงเรขาคณิต
        2.3 ครูนำรูปทรงเรขาคณิตมาให้นักเรียนดู แล้วช่วยกันตอบว่ามีรูปทรงเรขาคณิตชนิดใดบ้าง ถ้าเปรียบกับสูตรโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลโคเวเลนต์ BCl3 CH4 และ PCl5 ควรมีรูปร่างเป็นแบบใดตามรูปทรงทางเรขาคณิต
พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม            ทรงเหลี่ยมสี่ห เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมแบนราบ
        2.4 นักเรียนร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น เปรียบเทียบรูปทรงทางเรขาคณิตกับสูตรโครงสร้างแบบเส้นของโมเลกุลโคเวเลนต์
        2.5 นักเรียนรับใบความรู้เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ จากนั้นศึกษาและร่วมกันอภิปรายความรู้ที่ได้รับ
    3. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration Phase)
        3.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน โดยคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง และอ่อน จากนั้นแต่ละกลุ่มเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการเพื่อทำหน้าที่ภายในกลุ่ม
        3.2 นักเรียนส่งตัวแทนมารับใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวโดยนักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้
        - นักเรียนส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ และบัตรคำสูตรโมเลกุลโคเวเลนต์จำนวน 7 แผ่น
        - นักเรียนภายในกลุ่มศึกษา ระดมความคิด อภิปรายร่วมกัน วางแผน ออกแบบเพื่อสร้างโมเดลสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้ ให้มีรูปทรงทางเรขาคณิต
        - นักเรียนนำอุปกรณ์ที่กำหนดให้คือผลไม้ที่มีผลทรงกลมที่หาได้ในชุมชน หรือสวนป่าหลังโรงเรียนของตนเอง ไม้จิ้มฟัน จากนั้นลงมือสร้างโมเดลรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ให้มีรูปทรงทางเรขาคณิตตามที่กลุ่มตนเองวางแผน และออกแบบเอาไว้ให้ครบจำนวน 7 สูตรโมเลกุล
        - เมื่อสร้างโมเดลเรียบร้อยแล้วให้แต่ละกลุ่มวาดภาพโมเดลของกลุ่มลงในแบบบันทึกกิจกรรม พร้อมทั้งระบุชื่อรูปร่างโมเลกุล โดยแต่ละกลุ่มใช้ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ประกอบในการศึกษาเพิ่มเติม
        3.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นใบกิจกรรมที่1 จนทุกคนในกลุ่มเข้าใจสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้ว่าเมื่อสร้างโมเดลทางเรขาคณิตแล้วเทียบกับรูปร่างโมเลกุลมีรูปร่างอย่างไร มีชื่อว่าอย่างไร
        3.4 นักเรียนส่งตัวแทนมารับใบกิจกรรมที่2 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวโดยนักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมดังต่อไปนี้
        - แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาใบกิจกรรมที่2 ระดมความคิด วางแผน ออกแบบเพื่อสร้างโมเดลรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ตามสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้
        - นำอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้แก่ ผลไม้ทรงกลม ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน มาสร้างโมเดลตามที่ได้วางแผน ออกแบบเอาไว้ ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดคือ 6 สูตรโมเลกุล
        - เมื่อสร้างโมเดลเสร็จวาดภาพ และระบุชื่อรูปร่างโมเลกุลของแต่ละสูตรลงในแบบบันทึกกิจกรรม โดยใช้ใบความรู้ที่1 เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ประกอบการศึกษา
        3.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นใบกิจกรรมที่2 จนทุกคนในกลุ่มเข้าใจสูตรโมเลกุลที่กำหนดให้ว่าเมื่อสร้างโมเดลทางเรขาคณิตแล้วเทียบกับรูปร่างโมเลกุลมีรูปร่างอย่างไร มีชื่อว่าอย่างไร
        3.6 ครูคอยสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน และบันทึกพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
4. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation Phase)        
        4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มเมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการปฏิบัติกิจกรรม นำมาตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลที่ได้หน้าชั้นเรียน
        4.2 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลการปฏิบัติกิจกรรมจากใบกิจกรรมที่ 1 และ ใบกิจกรรมที่2 เพื่อให้ได้ข้อสรุปดังนี้
        - การปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวสรุปว่า รูปร่างโมเลกุลของ BeCl2 เป็นเส้นตรงสังเกตจากการเทียบกับรูปทรงเรขาคณิตและเมื่อเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นแล้วมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ จำนวน 2 พันธะ จึงสรุปได้ว่า ถ้าสูตรโมเลกุลมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ จำนวน 2 พันธะและไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลืออยู่เลยสามารถทำนายว่าสูตรโมเลกุลนั้นมีรูปร่างเป็นเส้นตรง     BF3 มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่(3 พันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว SiF4 มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่(4พันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดียว
PF5 มีรูปร่างเป็นพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ (5พันธะ)อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว    SF6 และ TeCl6 มีรูปร่างเป็นทรงแปดหน้า โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 6 คู่(6 พันธะ) และอะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
- การปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 เรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
สรุปว่า XeF4 มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบนราบ โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 4 คู่(4 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 2 คู่
    NH3 มีรูปร่างเป็นพีระมิดฐานสามเหลี่ยม โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ (3 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 1 คู่
IF5 และ FCl5 มีรูปร่างเป็นพีระมิดฐานสี่เหลี่ยม โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 5 คู่ (5 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 1 คู่
BrCl3 และ ClF3 มีรูปร่างเป็นรูปตัวที โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ (3 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 2 คู่
H2O มีรูปร่างเป็นมุมงอ โดยอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ (2 พันธะ) และอะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ 2 คู่
4.3 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายจนให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์อีกครั้งว่า รูปร่างโมเลกุลให้พิจารณา 2 ลักษณะคือสูตรโมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวและเกิดพันธะโดยสังเกตจำนวนที่เกิดพันธะ สูตรโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    5. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration Phase)
        เมื่อนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับรูปร่างโมเลกุลแล้ว ครูยกตัวอย่างสูตรโมเลกุลอื่นๆเช่น
ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้อธิบายและทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ เพื่อวิเคราะห์ว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง สมบูรณ์จริงหรือไม่ ให้นักเรียนทำกิจกรรมดังต่อไปนี้
    5.1 นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
    5.2 แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา อภิปราย และกำหนดหน้าที่กันเองภายในกลุ่มเพื่อทำแบบฝึกหัด
    5.3 แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย ตรวจความถูกต้อง ตอบคำถามข้อสงสัยต่างๆ ให้ทุกคนในกลุ่มเข้าใจคำตอบก่อนส่ง
6. ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase)
    6.1 ครูให้นักเรียนส่งแบบฝึกหัดเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเรียบร้อยของงานที่นักเรียนทำ
    6.2 ครูสุ่มถามนักเรียนเป็นรายบุคคลทั้งนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน เกี่ยวกับการเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นแล้วทำนายรูปร่างโมเลกุล
7. ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase)
        7.1 ครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบเป็นการนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันดังนี้
        - นักเรียนยกตัวอย่างสารประกอบโคเวเลนต์ที่มีในชีวิตประจำวันพร้อมเขียนสูตรโมเลกุลและเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นและทำนายรูปร่างโมเลกุลนั้นได้ถูกต้อง
        - ครูชี้แนะให้นักเรียนหาความรู้เพิ่มเติมโดยการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆเช่นห้องสมุด อินเทอร์เน็ต และจากผู้รู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
    1. ใบความรู้ที่1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    2. ใบความรู้ที่2 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    3. ใบกิจกรรมที่1 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    4. ใบกิจกรรมที่2 เรื่อง รูปร่างโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
    5. แบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
การวัดและประเมินผล
    จุดประสงค์    วิธีการวัด    เครื่องมือ    เกณฑ์
1. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์เมื่อทราบจำนวนพันธะและจำนวนอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางได้    ครูตรวจใบกิจกรรมที่1
    - ใบกิจกรรมที่1
- แบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์    -ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
-ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
2. สามารถทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์เมื่อทราบจำนวนพันธะและจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลางได้    ครูตรวจใบกิจกรรมที่2    - ใบกิจกรรมที่2
- แบบฝึกหัดเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์    -ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
-ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
3. มุ่งมั่นในการทำงาน    สังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรม    แบบสังเกตพฤติกรรม    ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
ความเห็นของผู้บังคับบัญชา
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



         ลงชื่อ.....................................................ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหันวิทยา
                 (นายสุวิชา ดิเรกโภค)
บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ปัญหาและอุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



                         ลงชื่อ....................................................................
                         (นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์)
                         ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
                         .............../................................/..................
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^