LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

นางศิวนาถ เอ่งฉ้วน รองผู้อำนวยการโรงเรียนพนมเบญจา

usericon

ชื่อเรื่อง         : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา
จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557
ผู้รายงาน     : นางศิวนาถ เอ่งฉ้วน รองผู้อำนวยการโรงเรียนพนมเบญจา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
ปีที่รายงาน     : ปีการศึกษา 2557
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัด การเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพ การพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพนมเบญจา ที่มี ต่อการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 310 คน กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 66 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 310 คน และ กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Ratting Scale) จำนวน 6 ฉบับทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.810 -0.985 2) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1.    ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม โครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
                                                                                                            

ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่ากลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.08, S.D. = 0.38 ) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.06, S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความพร้อมของบุคลากร 2)ด้านงบประมาณ 3)ด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ 4)ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และ 5)ผู้สนับสนุนโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.37)ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน    
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็น ของ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.51) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และพิจารณาแต่ละกลุ่ม ที่ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.21, S.D.= 0.64)อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.24, S.D.= 0.55) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.17, S.D. = 0.64 ) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
     4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 จำแนกเป็น
        4.1 คุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็น ของ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.11, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือกลุ่มนักเรียน( = 4.10, S.D. = 0.34)





อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครองที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.05, S.D. = 0.24 ) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
4.2 ด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียนโรงเรียน พนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D. = 0.35) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.28, S.D. = 0.33) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.22, S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.01, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557
                    4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2556- 2557
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพนมเบญจา ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 70. 67 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และ เทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด อยู่ที่ 78.88 รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.84 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด อยู่ที่ 60.23 ปีการศึกษา 2557 โดยภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 65.98 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ย ร้อยละสูงสุด อยู่ที่ 74.84 รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 70.34 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด อยู่ที่ 56.11 แสดงว่า ปีการศึกษา 2557 มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลดลงจากปีการศึกษา 2556 คือ -4.69 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
                    4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพนมเบญจา ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 38.0 ปีการศึกษา 2557 รวมเฉลี่ยร้อยละ 37.9 มีค่าพัฒนา -0.1 และผลการทดสอบทางการทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพนมเบญจา ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 33.7 ปีการศึกษา 2557 รวมเฉลี่ยร้อยละ 34.9 มีค่าพัฒนา +1.2 ซึ่งสูงกว่า ปีการศึกษา 2556 อย่างน้อย 1 ระดับชั้น ผ่านเกณฑ์การประเมิน



4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพนมเบญจา ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็น ของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.63, S.D. = 0.49)อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.27, S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครูที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.24, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
    1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
        1.1 ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการในด้านนโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการให้มีความเหมาะสมกับโรงเรียนเพื่อให้การ ดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ การบริหารงบประมาณควรปรับปรุงให้มีความรวดเร็ว ถูกต้องและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
     1.3 ด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการ นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องควรมีความกระตือรือร้นในการทำงาน การปฏิบัติกิจกรรม มีการประสานงานกับบุคคล และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ การจัดทำเครื่องมือ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนดไว้
     1.4. ด้านผลผลิต ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูในด้านต่อไปนี้ 1) หลักสูตรการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียน 2) การใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายที่เหมาะสมกับผู้เรียน 3) ความหลากหลายและเหมาะสมของกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติครู และบุคลากร ของโรงเรียน
    2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
     2. 1 ควรศึกษาหรือดำเนินการวิจัยเพื่อการพัฒนาตัวชี้วัดเกี่ยวกับคุณภาพครู ที่เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทำให้คุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนสูงขึ้น อันจะสามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่องได้



2. 2 ควรประเมินผลกระทบของโครงการในระยะยาว เช่น ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการประเมินโครงการ ทำการวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา
2. 3 ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่นๆ นอกเหนือจากการประเมิน โดยใช้ ซิปโมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนพนมเบญจา เพื่อยืนยันผลการประเมิน

    
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^