LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ปัตตานี เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ตรัง เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตรัง เขต 2 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ปัตตานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปัตตานี เขต 3 28 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.กาฬสินธุ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานผลการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย

usericon

บทคัดย่อ
เรื่อง :    รายงานผลการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ตื่น           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
ชื่อผู้ศึกษา :     นางมัสลิน กาเหว่า
ปีที่ศึกษา :     2557

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวมระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวมก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบ คำคล้องจอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษา ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านแม่ตื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 4 คน มีวิธีดำเนินการศึกษา ดังนี้ ทำการทดสอบทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ก่อนการจัดกิจกรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ ดำเนินการจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดกิจกรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย จนครบ 10 สัปดาห์ ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ แล้วจึงทำการทดสอบทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองชุดเดิมกับที่ใช้ทดสอบก่อนการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( µ ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) สามารถสรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้
1. ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ตื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ระหว่างการจัดกิจกรรม เป็นช่วงสัปดาห์มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้น จากการประเมินสัปดาห์ที่ 1 – 10 คือ ด้านการเข้าใจความหมายของคำมีคะแนนเฉลี่ยรวม 3.38 ด้านการปฏิบัติตามคำสั่งมีคะแนนเฉลี่ยรวม 3.15 ด้านการบอกชื่อสิ่งของมีคะแนนเฉลี่ยรวม 3.55 และด้านการเล่าเรื่องจากภาพมีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.90 และในภาพรวมทั้ง 4 ทักษะ รายสัปดาห์จากการประเมินในสัปดาห์ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 2.06 สัปดาห์ที่ 2 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 2.31 สัปดาห์ที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 2.56 สัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 2.88 สัปดาห์ที่ 5 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 3.13 สัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 3.38 สัปดาห์ที่ 7 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 3.63 สัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 3.88 สัปดาห์ที่ 9 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะ 4.13 และสัปดาห์ที่ 10 มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ทักษะเท่ากับ 4.50
    2. ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยรายพฤติกรรมหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง มีคะแนนเฉลี่ยที่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม คือ ด้านการฟัง การเข้าใจความหมายของคำ ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.00 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 การปฏิบัติตามคำสั่ง ก่อนการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.75 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ด้านการพูด การบอกชื่อสิ่งของ ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.00 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และการเล่าเรื่องจากภาพ ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.50 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และในภาพรวมรวมทั้ง 4 ทักษะก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.81 คิดเป็นร้อยละ 36.20 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 คิดเป็นร้อยละ 96.20 และมีคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าของผลการพัฒนา 3.00 คิดเป็นร้อยละ 60.00
pn.punun 07 เม.ย. 2558 เวลา 12:17 น. 0 990
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^