LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ขอนแก่น - ผลย้ายครู 2567 สพม.ขอนแก่น 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่

นายเล็ก กุดวงค์แก้ว สร้างเครือข่ายการศึกษาเพื่อชีวิต

usericon

นายเล็ก กุดวงค์แก้ว สร้างเครือข่ายการศึกษาเพื่อชีวิต
ประเภทบุคคล นายเล็ก กุดวงค์แก้ว สร้างเครือข่ายการศึกษาเพื่อชีวิต
ชื่อ นายเล็ก กุดวงค์แก้ว อายุ 55 ปี
นายเล็ก กุดวงศ์แก้ว นับเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีสานอีกท่านหนึ่ง ที่ได้เผยแพร่แนวความคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรยั่งยืน เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจวัฒนธรรม โดยมีรูปธรรมการปฏิบัติอย่างชัดเจน แนวทางการปฏิบัติดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ ที่ไม่แยกการศึกษาจากชีวิต เป็นการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติศึกษา ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อxxxล ศึกษาเพื่อสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเพื่อลดการเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น
ชีวิตของนายเล็กในระยะต้นไม่แตกต่างจากชาวบ้านบ้านบัว หรือหมู่บ้านใกล้เคียงที่ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาภูพาน ชาวบ้านจะถางป่าเพื่อปลูกปอตั้งแต่ พ.ศ. 2507 และเพื่อปลูกมันสำปะหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ระหว่างนั้นก็เกิดตั้งคำถามว่า ทำไมยิ่งปลูกพืชเศรษฐกิจ ยิ่งจน ยิ่งเป็นหนี้สิน คำตอบที่นายเล็กได้รับมาจากการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ให้ความคิดเรื่อง “เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน” หรือการใช้ชีวิตแบบพออยู่ พอ กิน เหมือนในอดีต
ในปี พ.ศ. 2530 จึงหันมาศึกษาป่าธรรมชาติบทเทือกเขาภูพานใกล้บ้านบัว จากนั้นจึงจัดระบบชีวิตของตนเองและครอบครัวเสียใหม่ โดยใช้แนวคิด “ยกป่าภูพานมาไว้ที่บ้าน” และความคิด “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” บ้านเกิดและบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน โดยนำพืชพื้นบ้านประมาณ 200 ชนิดมาปลูกในดินของตนเองประมาณ 5 ไร่ ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ถือเป็นการ “สร้างป่าใหม่ให้ชีวิต” และได้ขุดสระน้ำ 2 บ่อ เพื่อเป็น “แม่น้ำสายใหม่ให้ครอบครัว” เมื่อทดลองได้ผลจึงขยายพื้นที่เป็น 23 ไร่เพื่อให้พอเลี้ยงครอบครัว ซึ่งมีสมาชิก 14 คน ในพื้นที่ปลูกทั้งไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้ยืนต้นหลายชนิด และเลี้ยงทั้งวัว ควาย ไก่พื้นบ้าน ในที่สุดก็สามารถปลดหนี้สินลูกหลานไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน
ในช่วงปีพ.ศ. 2530 – 2532 ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยกลุ่มชนชาติพันธุ์เผ่ากะเลิงบ้านบัว ตำบลกุดบาก ที่ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นวิทยาลัยครูสกลนคร (ปัจจุบัน คือ สถาบันราชภัฏสกลนคร) ร่วมกับสถาบันพัฒนาชนบท ก่อให้เกิดแนวความคิดร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและชุมชน
ในปี พ.ศ.2532 จึงรวมกลุ่มกันเละตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน” ซึ่งในช่วงแรกได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์หวายที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คนเเละเริ่มทำการเพาะขยายพันธุ์หวายพื้นบ้านเอง
ในปี พ.ศ. 2534 เปลี่ยนชื่อจาก “กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน” เป็น “กลุ่มอินแปง” ซึ่งพ่อบัวศรี ศรีสูง ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้ตั้งให้
ปี พ.ศ.2535 นำเงินกองทุนไปซื้อที่ดินเพื่อเป็นจัดตั้งสถานที่ในการติดต่อประสานงาน แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา ศึกษาทดลองทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและหมู่บ้านของตนจำนวน 5 ไร่ 1 งาน และได้ทำโครงการเลี้ยงหมูพื้นบ้านเพื่อสร้างรายได้เสริมให้สมาชิกของกลุ่ม
ต่อมาในปี พ.ศ.2535-2536 กลุ่มอินแปงได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลัก ในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนในพื้นที่รอบป่าเทือกภูพาน และได้มีคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในชุมชนเข้ามาทำหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่มอินแปง และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นมากขึ้น โดยเริ่มประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
แนวคิดที่ได้
การเรียนรู้ ที่ไม่แยกการศึกษาจากชีวิต เป็นการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติศึกษา ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อxxxล ศึกษาเพื่อสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเพื่อลดการเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น
ผลงาน
- พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในผู้นำก่อตั้งกลุ่มอินแปง ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายประมาณ 600 ครอบครัว 5 อำเภอ ใน 3 จังหวัด
- พ.ศ. 2542 ขยายเครือข่ายสู่พื้นที่ 12 ตำบล 10 อำเภอ ในจังหวัดสกลนคร
- พ.ศ. 2543 ร่วมกำหนดแผนแม่บทชุมชน ร่วมกับเครือข่ายภูมิปัญญาไทเสนอโครงการจัดสวัสดิการชุมชนเร่งด่วนเพื่อผู้ยากลำบากของเครือข่าย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 15 ล้านบาท จากองทุนทางสังคม (SIF – MENU 5)
Prachaya2242 17 ธ.ค. 2557 เวลา 14:37 น. 0 4,013
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^