LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ขอนแก่น - ผลย้ายครู 2567 สพม.ขอนแก่น 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่

รายงานการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ประเมิน    นายสัมนาการณ์ บุญเรือง
หน่วยงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
ปีที่รายงาน    2560

บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP MODEL ของสตัฟเฟลบีม ซึ่งประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) อีกทั้งศึกษาความพึงพอใจ ในการดำเนินงานตามโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ จำนวน 427 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูและบุคลากร กศน. จำนวน 38 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารและผู้แทนครู) ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักศึกษา ประชาชน จำนวน 382 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan : 1970 : 608) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบประเมินมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นสำหรับประเมินโครงการ จำนวน 4 ฉบับ และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากร กศน. นักศึกษา ประชาชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD )
    ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีระดับผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถเรียงลำดับระดับการดำเนินการจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบริบท ( x= 4.71) ด้านผลผลิต (x = 4.66) ด้านกระบวนการ (x = 4.63) และด้านปัจจัยนำเข้า (x = 4.53) ตามลำดับ ซึ่งสามารถสรุปผลได้ดังนี้    
         1.1 ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56–4.91) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล (x = 4.91) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (x = 4.56) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
        1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.51–4.67) ส่วนข้อที่ 5 งบประมาณที่ได้รับมีความเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ ข้อที่ 6 มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนิน โครงการอย่างเพียงพอ ข้อที่ 7 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม และข้อที่ 8 ความพร้อมของสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x = 4.30–4.49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ กิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษา ประชาชน สามารถนำกิจกรรมตามโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (x = 4.67) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณที่ได้รับมีความเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ (x = 4.33) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
         1.3 ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.51–4.84) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม (x = 4.84) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย มีการเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ (x = 4.51) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน

         1.4 ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.57–4.77) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ บรรลุวัตถุประสงค์ทุกข้อ (x = 4.69) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือนดีขึ้น (x = 4.57) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า
        2.1 ผู้บริหาร ครูและบุคลากร กศน. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักศึกษา ประชาชน มีความพึงพอใจต่อโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.62–4.78) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความพึงพอใจต่อกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ กิจกรรมการเพาะเห็ด (x = 4.78) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ กิจกรรมการเลี้ยง ไก่ชน (x = 4.62)
        2.2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ มีดังนี้ คือ เป็นโครงการที่ดีมาก ควรจัดให้มี การดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้อีก เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ เป็นแบบอย่างและสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้ความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ในการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^