LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

usericon

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
ชื่อผลงาน    : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้ เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555-2556
ผู้รายงาน    : นางวชิรา มุสิกพงษ์
         ครู โรงเรียนทับช้างวิทยาคม อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16
ปีที่รายงาน    : 2557


[center]บทสรุป[/center]

    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555-2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย คุณภาพการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555-2556 พฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้างโรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555-2556 ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานโรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555-2556 มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555-2556 กลุ่มเป้าหมายในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 196 คน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 201 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2555 จำนวน 29 คน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 33 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2555 และ 2556 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 196 คน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และและแบบบันทึกผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับ ระหว่าง 0.89-0.97
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ในระดับ ปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ประชากรครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (µ= 3.14, σ = 0.76) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 2.97, S.D. = 0.57) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2556 ผลการประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.83, S.D. = 0.63) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ประชากรครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.88, σ = 0.61) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของประชากรครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.01, σ = 0.80) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2556 ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.69, σ = 0.66) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ประชากรครู มีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.11, σ = 0.90) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง มีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.12, S.D. = 0.78) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.12, S.D. = 0.78) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน ปีการศึกษา 2556 ผลการประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ประชากรครู มีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก (µ = 3.91, σ = 0.57) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง มีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.72, S.D. = 0.59) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียน มีการปฏิบัติหรือมีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.71, S.D. = 0.49) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555-2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังเสร็จสิ้นโครงการ จำแนกตามตัวชี้วัด พบว่า
     4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ประชากรครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 3.10, σ = 0.89) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (xˉ = 3.03, S.D. = 073) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนน15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรองลงมา (xˉ = 3.03, S.D. = 0.83) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (xˉ = 3.01, S.D. = 0.56) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน ปีการศึกษา 2556 ผลการประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (xˉ = 4.01, S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ประชากรครู (µ = 3.73, σ = 0.69) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยรองลงมา (xˉ = 3.73, S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมากได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด(xˉ = 3.72, S.D. = 0.65) ) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
     4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (xˉ = 3.84, S.D. = 0.74) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ประชากรครู (µ = 3.10, σ = 0.86) อยู่ในระดับปานกลาง ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน ปีการศึกษา 2556 ผลการประเมิน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับ มาก (xˉ = 3.45, S.D. = 0.80) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ประชาครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 3.87, σ = 0.74) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง (xˉ = 3.03, S.D. = 0.87) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
     4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับการประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555 มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 93.00 ) เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ 3.3 เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ร้อยละ 92.00) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาได้แก่ ตัวบ่งชี้ 3.1 มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่างๆ รอบตัว (ร้อยละ 91.00) อยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนตัวบ่งชี้ 3.4 ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ร้อยละ 89.00) อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน ปีการศึกษา 2556 ผลการประเมิน โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 93.00 ) เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ 3.2 มีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ร้อยละ 96.00) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาได้แก่ ตัวบ่งชี้ 3.1 มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่างๆ รอบตัว (ร้อยละ 93.00) อยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนตัวบ่งชี้ 3.4 ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ร้อยละ 90.00) อยู่ในระดับดีเยี่ยม เช่นกัน
    4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ปีการศึกษา 2555 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับ ปานกลาง ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ประชากรครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 3.04, σ = 0.83) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (xˉ = 3.02, S.D. = 0.88) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนน10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยรองลงมา (xˉ = 3.02, S.D. = 0.88) อยู่ในระดับปานกลาง ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (xˉ = 2.92, S.D. = 0.64)ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน ปีการศึกษา 2556 ผลการประเมินโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (xˉ = 4.04, S.D. = 0.61) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (xˉ = 3.85, S.D. = 0.74) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมากลุ่มผู้ปกครอง(xˉ = 3.85, S.D. = 0.75) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนประชากรครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ = 3.84, σ = 0.78) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
    1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานด้านผู้เรียน
    2. ผู้บริหารควรสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในด้านการจัดสรรงบประมาณ อาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้ทุกที่ในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ และเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน
    3. ผู้บริหารเป็นที่ปรึกษา หรือให้คำแนะนำ ให้ความรู้ ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร มีความยุติธรรม มีความเป็นกลาง เป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ
    4. ควรมีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือ รวมทั้งการประเมินผล สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายบ้านลูกช้าง โรงเรียนทับช้างวิทยาคม ทั้งเป็นกลุ่มบริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระ และเป็นรายบุคคล แบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
    5. ในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ผู้บริหารและครูควรที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน และชุมชน ได้แก่ พฤติกรรมการอ่าน การศึกษาค้นคว้า การใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย เสียสละเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น ควรตระหนัก ให้ความสนใจ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
    6. การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ ขยายผลไปสู่ผู้ปกครองเป็นครอบครัวรักการอ่าน เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง
    ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
    1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียน และการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
    2. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ทุกโครงการที่ครูบรรณารักษ์หรือโรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
    3. ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ให้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)
wachira05 12 ต.ค. 2557 เวลา 11:44 น. 0 964
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^