LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร

usericon

รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร
     สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
ชื่อผู้วิจัย นางขนิษฐา ลุนชัยภา รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
ปีการศึกษา : 2556

บทคัดย่อ

    รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมการดำเนินการโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินการตามโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร 3) ประเมินกระบวนการในการดำเนินการตามโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร 4) ประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ตามความคิดเห็นของบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยใช้แนวคิดการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) การประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้า พิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 615 คน ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ดังนี้ บุคลากร โดยใช้ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 65 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 275 คน ได้มาโดยกำหนดขนาด ตามจากตาราง เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling โดยการ จับฉลากแต่ละชั้นเรียน และ ผู้ปกครองนักเรียนโดยคัดเลือกจากผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 275 คน     
    เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 มีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับระหว่าง .45 - .85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95
2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน เกี่ยวกับผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนางานวิชาการโรงเรียน สุมเส้าพิทยาคาร มีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับระหว่าง .44 - .87 และมีค่าความเชื่อมั่นฉบับเท่ากับ 0.95 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้แกครองนักเรียน เกี่ยวกับผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร มีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับระหว่าง .40 - .86 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 4) แบบสัมภาษณ์ ครูผู้สอน ใช้สัมภาษณ์ครูผู้สอนเพื่อให้การประเมินโครงการสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการเก็บข้อมูล ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินการและเมื่อสิ้นสุดโครงการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation)

สรุปผลการประเมิน ดังนี้
    ผลการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
1)    ด้านสภาพแวดล้อม บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุด คือ หลักการและวัตถุประสงค์โครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน รองลงมา คือ โครงการพัฒนางานวิชาการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาให้แก่ผู้เรียน ส่วนข้อที่มีระดับความเหมาะสมต่ำสุด คือ การกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินการและระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสม
2)    ด้านปัจจัยเบื้องต้น บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุด คือ มีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และบุคลากร ในชุมชน รองลงมา คือ จำนวนบุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมเพียงพอ ส่วนข้อที่มีระดับความเหมาะสมต่ำสุด คือ ได้รับงบสนับสนุนและหน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุนงบประมาณพอเพียงกับการดำเนินโครงการ
3)    ด้านกระบวนการ บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุด คือ การวางแผนการดำเนินโครงการ รองลงมา คือ การประเมิน ผลการดำเนินโครงการ ส่วนข้อที่มีระดับ ความเหมาะสมต่ำสุด คือ การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนา
4)     ด้านผลผลิต บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีระดับความเหมาะสมสูงสุด คือ ด้านผลผลิตเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข รองลงมา คือ ด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนข้อที่มีระดับความเหมาะสมต่ำสุด คือ ด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
5)    ผลการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร เกี่ยวกับผลผลิต ที่เกิดจากการพัฒนางานวิชาการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิต ที่เกิดจากการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ นักเรียนชอบออกกำลังกาย รองลงมา คือ นักเรียนปรึกษาเพื่อนในงานที่ครูมอบหมายให้ ส่วนข้อที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ นักเรียนทบทวนความรู้ และหาความรู้เพิ่มเติมเดิมหลังจากเรียนในชั้นเรียนเสมอ
6)    ผลการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร เกี่ยวกับผลผลิต ที่เกิดจากการพัฒนางานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตที่เกิดจากการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ นักเรียนให้ความสำคัญ ต่อกิจกรรมของโรงเรียน รองลงมา คือ นักเรียนชอบออกกำลังกาย ส่วนข้อที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ นักเรียนทำการบ้านและงานที่ครูมอบหมายให้สม่ำเสมอ
7)    การสัมภาษณ์ครู สามารถสรุปได้ว่า ดังนี้
7.1การสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ครูทุกคนให้ความเห็นว่าโรงเรียนมีการแต่งตั้งกรรมการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ครูทุกคนร่วมกันเป็นคณะกรรมการพัฒนางานวิชาการเป็นอย่างดีและ บุคลากรในโรงเรียนมีการประชุมปรึกษาหารือกำหนดข้อตกลงร่วมกันและยอมรับข้อตกลงที่กำหนดไว้
    7.2 การสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับจุดเด่นของการดำเนินงานตามโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ครูทุกคนให้ความเห็นว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ เห็นความสำคัญของการพัฒนางานวิชาการและพัฒนาจนเป็นแบบอย่างได้และสามารถระดมทรัพยากรในการพัฒนางานวิชาการจนสัมฤทธิ์ผล บุคลากรให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร เป็นอย่างดีและทำงานเป็นหมู่คณะ และ ชุมชนและหน่วยงานต้นสังกัดให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเป็นอย่างดี
    7.3 การสัมภาษณ์ครูผู้สอนเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร พบว่า ครูผู้สอนได้รับความรู้ เข้าใจ ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ครูมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน และ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเป็นลำดับ
7.4    การสัมภาษณ์ครูผู้สอนเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของโรงเรียนในการดำเนินงานโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ในอนาคต พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก (สมศ.) รอบสี่ และโรงเรียนสามารถคงสภาพโรงเรียนในฝันอย่างมีคุณภาพ
    7.5 การสัมภาษณ์ครูผู้สอนเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่นในการดำเนินงานโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร พบว่า ผู้บริหารควรกำกับติดตามโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร สำเร็จและดำเนินไปอย่างราบรื่น ควรมีการศึกษาผลงานโรงเรียนอื่นที่ประสบผลสำเร็จแล้วนำมาพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล และควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายมีการใช้สื่อและวิธีการต่างๆในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลยิ่งขึ้น
8.    ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นจากการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2555 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2556 พบว่าปีการศึกษา 2556 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า ปีการศึกษา 2555 ร้อยละ 4.79 เหมาะสม ที่จะดำเนินการโครงการพัฒนางานวิชาการต่อไป

        




ninewkid 05 ต.ค. 2557 เวลา 06:30 น. 0 949
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^