LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

usericon

ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการ การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้
ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 -2559    
ผู้ประเมิน : นายธนชัย สุวรรณจ่าง
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านนาข่า อำเภอละงู จังหวัดสตูล
     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2558 - 2559

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

รายงานการประเมินโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย คุณภาพของการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 พฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 – 2559 และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 31 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 6 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 31 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ และด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารจัดการ โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม ด้านการติดตามประเมินผล และด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
        4.1 โครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
        4.2 พฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น โครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครู โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
         4.3 ผลการประเมินด้าน พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 –2559 โครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 -2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
        4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านนาข่า ปีการศึกษา 2558 - 2559 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. ด้านสภาพแวดล้อม ควรนำผลการประเมินโครงการไปสร้างความตระหนักให้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนให้เห็นความสำคัญของโครงการ มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยการจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และประชาสัมพันธ์ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือกับทุกฝ่าย
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ควรส่งเสริมและเพิ่มงบประมาณในการสร้าง พัฒนา และปรับปรุงให้เพียงพอและเหมาะสม ตามความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอน
3. ด้านกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถยืดหยุ่นเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะเพิ่มมากขึ้น จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำผลไปแก้ไขปรับปรุงในปีการศึกษาต่อ ๆ ไป
4. ด้านผลผลิต ควรส่งเสริมให้นักเรียนรักการเรียนรู้เป็นนิสัยในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือวิจัยในครั้งต่อไป
    โรงเรียนควรมีการศึกษาและพัฒนาการปฏิบัติงาน ในรูปแบบโครงงาน และมีการติดตามประเมินผลเชิงระบบที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาในครั้งต่อไป
Thanachai 18 พ.ค. 2560 เวลา 14:01 น. 0 667
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^