LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.สมุทรสาคร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ราชบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้

usericon

ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นายเสรี แก้วเขียวงาม ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
     โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปี 2559

     บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2). เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 120 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ เทคนิคระดมสมอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ด้านบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent)
    การดำเนินการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอนคือขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research ) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) เป็นการสร้างและพัฒนาหาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดโครงร่างของรูปแบบ ซึ่งสาระสำคัญของรูปแบบประกอบ ด้วย 1) ความเป็นมา 2) แนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการและจุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้แล้วให้เพื่อนครูและผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคีมีความพร้อมของบริบทโรงเรียนในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏี การสร้าความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง และดูอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการของนักเรียนและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการ เรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยภาพรวมพบว่านักเรียนมีความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีการสร้าความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ตามความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 2). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมองเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 83.29 /86.75 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 35 คน พบว่าประสิทธิภาพรูปแบบเท่ากับ 82.68 /82.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 4) เพื่อการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่ง และหลังเรียนกับเกณฑ์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 และ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
เสรี 22 มี.ค. 2560 เวลา 22:19 น. 0 634
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^