LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.พิจิตร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิต

usericon

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิต
หัวข้อการศึกษา    ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา    สุทิศา สมบัติทวี
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
หน่วยงาน    โรงเรียนวัดหนองนา
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา    2556

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 26 คน เป็นชาย 18 คน หญิง 8 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดหนองนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 โดยการเลือกแบบเจาะจงเพื่อดำเนินการทดลอง ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน โดยจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยจำนวน 5 เรื่อง ดำเนินการจัดกิจกรรมเรื่องละ 8 วัน หรือ 2 สัปดาห์ ในวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดี วันละ 20 นาที ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ช่วงเวลา 10.00 น. - 10.20 น. รวมระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ใช้แบบแผนการวิจัยโดยการประยุกต์มาจากการดำเนินการวิจัยแบบ One Group Time - Series กับแบบ One Group Pretest - Posttest design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 82.70/86.40
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในภาพรวมก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 คิดเป็นร้อยละ 46.50 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.64 คิดเป็นร้อยละ 86.40โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า
2.1 ทักษะการจำแนกประเภท ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 คิดเป็นร้อยละ 42.70 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.54 คิดเป็นร้อยละ 85.40โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ทักษะการเปรียบเทียบ ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 คิดเป็นร้อยละ 49.20 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.58 คิดเป็นร้อยละ 85.80โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ทักษะการรู้ค่าจำนวน 1-10 ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 คิดเป็นร้อยละ 47.30 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.73 คิดเป็นร้อยละ 87.30โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.4 ทักษะการเพิ่ม-ลดภายในจำนวน 1-10 ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 คิดเป็นร้อยละ 46.90 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.69 คิดเป็นร้อยละ 86.90โดยมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
pobjan 14 ก.ค. 2557 เวลา 07:48 น. 0 888
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^