LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม

usericon

การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม
ชื่อเรื่อง    :    การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย    :     นายจิราวุฒิ เกตนิ่ม
ประเภทผลงานวิชาการ    :    ผลงานวิจัย

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มประชากร ก่อนและหลังการใช้บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง 1 เพื่อการทดลองใช้ครั้งที่ 1 ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านร่มโพธิ์ไทย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่าง 2 เพื่อการทดลองใช้ครั้งที่ 2 ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแผ่นดินทอง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน และกลุ่มกลุ่มตัวอย่าง 3 เพื่อการใช้ครั้งที่ 3 ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านราษฎร์ภักดี อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน ประชากรเพื่อการใช้บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านรักแผ่นดิน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 2 เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test )
ผลการศึกษาพบว่า
1.    การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม กำหนดค่า E1 จากการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนในแต่ละเรื่องของบทเรียนบนเครือข่าย และค่า E2 จากการทดสอบหลังเรียนในแต่ละเรื่องของบทเรียนบนเครือข่าย ซึ่งพบว่า บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทุกเรื่องโดยรวมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.33/81.56 และเมื่อพิจารณาเป็นรายเรื่อง มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ดังนี้
เรื่องที่ 1    รู้จักเครือข่ายใยแมงมุม     82.50/81.11
เรื่องที่ 2    เว็บเซิร์ฟเวอร์และเว็บไซต์     83.33/82.22
เรื่องที่ 3    หมายเลขประจำเครื่อง     82.78/82.22
เรื่องที่ 4    โดเมนเนม    80.83/80.56
เรื่องที่ 5    รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล    82.22/81.67
จึงสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทุกเรื่องมีประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 แสดงว่า บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่ายใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทุกเรื่องมีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถเป็นสื่อการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในการพัฒนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่าย
ใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.59
( = 24.78, σ = 2.62) และคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.56 ( = 10.67, σ = 1.88)
ซึ่งคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.    ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เครือข่าย
ใยแมงมุม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน ( = 4.60, σ = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ชอบที่ได้เรียนและอยากเรียนอีกเมื่อถึงชั่วโมงเรียน ( = 4.83, σ = 0.38) รองลงมาได้แก่ เข้าเรียนเนื้อหาบทเรียนเครือข่ายได้อย่างสะดวก ( = 4.72, σ = 0.46) และข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ เนื้อหาที่เรียนไม่ยากเกินไป ( = 4.39, σ = 0.50)
kruwut 11 มิ.ย. 2557 เวลา 20:02 น. 0 960
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^