LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ

usericon

รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง   การบวกและการลบ
ชื่อเรื่อง         รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบ
            จำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
            เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย     นวลระหงษ์ ศิริงาน
ตำแหน่ง     ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านดู่อาราง อำเภอศีขรภูมิ
    จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา     2556

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการรายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน      3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดู่อาราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวนนักเรียน 23 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 ชุด ระดับคะแนนเฉลี่ยของชุดฝึกทักษะ ทั้ง 9 ชุด เท่ากับ 4.82 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง ระดับคะแนนเฉลี่ยของแผนการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 9 ชุด เท่ากับ 4.76 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.43 - 0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25 – 0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t

    ผลการวิจัยพบว่า
    1.     ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 84.06/82.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งได้คือ 80/80    
    2.     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์(STAD) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
    3.    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4.    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) ) กับเมื่อหลังเรียนระยะเวลาผ่านไป 14 วันไม่แตกต่างกัน แสดงว่าชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^