LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.สมุทรสาคร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ราชบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.ลพบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานผลการใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น เพ

usericon

รายงานผลการใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น เพ
หัวข้อ        รายงานผลการใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านคณิตศาสตร์
ผู้รายงาน    นางสาวโสภา วงศาระ
ปีการศึกษา    2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ก่อนการเรียนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึก เรื่องการบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สังกัดสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากระบบฐานข้อมูลการคัดกรองและดูแลเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (LD) โดยคัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่มีผลการคัดกรองทางด้านการคิดคำนวณอยู่ในระดับ ป. 2-3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นชุด 3 ชุด จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น แบบทดสอบวัดทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น และ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/E2) และ t-test for Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่า
    1. ประสิทธิภาพของชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร มีค่าเท่ากับ 84.04/85.13 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
    2. หลังจากการเรียนโดยการใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55, =0.57)
naysopha 04 เม.ย. 2557 เวลา 07:02 น. 0 1,095
usericon

:em13:เป็นผลงานที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
ความคิดเห็นที่ #1 joonandtj 07 เม.ย. 2557 เวลา 13:11 น. 183.89.xxx.xx
usericon

เป็นผลงานที่สามารถนำมาเป็นเเบบอย่างในการเรียนการสอนได้
ความคิดเห็นที่ #2 tj555666 07 เม.ย. 2557 เวลา 13:01 น. 183.89.xxx.xx
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^