LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รายงานประิเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนช

usericon

[center][/center]บทคัดย่อ

    การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนช่องแคพิทยาคมใน 4 ประเด็นคือ ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation ) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 20 คน กลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 149 คน และนักเรียน จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 12 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามด้านบริบท 1 ฉบับ ด้านปัจจัยนำเข้า 1 ฉบับ
ด้านกระบวนการ 1 ฉบับ ด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพของห้องสมุด นิสัยรักการอ่านของนักเรียนและความพึงพอใจของ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง 6 ฉบับ แต่ละฉบับมีค่าความเที่ยง ดังนี้ แบบสอบถามด้านบริบท เท่ากับ 0.91 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า เท่ากับ 0.90 แบบสอบถามด้านกระบวนการ เท่ากับ 0.89 แบบสอบถามด้านคุณภาพของห้องสมุด เท่ากับ 0.88 แบบสอบถามนิสัยรักการอ่านตามคิดเห็นของผู้ปกครอง เท่ากับ 0.91 แบบสอบถามนิสัยรักการอ่านตามคิดเห็นของนักเรียน เท่ากับ 0.82 แบบสอบถามด้านความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เท่ากับ 0.94 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง เท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เท่ากับ 0.93 และ แบบทดสอบความสามารถในการอ่าน ของนักเรียน จำนวน 2 ฉบับ แบบบันทึกข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้การทดสอบค่าที (t – test dependent)


สรุปผลการประเมิน
    ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนช่องแคพิทยาคม ในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น สามารถสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
    2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการ โดยการประเมิน พบว่า
ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก โดย ด้านความพร้อมของบุคลากร และ
ความพอเพียงของวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน และความพอเพียงของงบประมาณผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
    3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินงานโครงการโดยรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก โดยด้านการวางแผนดำเนินงาน การพัฒนาห้องสมุด การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการสนับสนุน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงานกิจกรรมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
    4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการโดยรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก โดยทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากได้แก่ คุณภาพของห้องสมุด นิสัยรักการอ่านของนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียน และค่าเฉลี่ยความสามารถในการอ่านของนักเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ หลังการดำเนินโครงการ นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการอ่านสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างชัดเจน
pheeraput 25 ก.พ. 2557 เวลา 15:31 น. 0 1,037
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^